สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนมีนาคม 2565

เมษายน 2565

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมีนาคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.2  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 62.4 สูงกว่าอัตราร้อยละ 60.9  ในเดือนเดียวกันของปีก่อน  การขยายตัวของภาคการผลิตเพิ่มขึ้นตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญ ประกอบกับ ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก ผลกระทบจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น  รวมถึง Base Effect จากฐานที่ต่ำ โดยกลุ่มสินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้แช่แข็ง (21.4%) น้ำมันพืช (+20.4%) เนื้อไก่ปรุงสุก (8.3%) แป้งมันสำปะหลัง (+4.0%) และกะทิ (+2.8%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่  ปลาซาร์ดีนกระป๋อง (-34.2%) น้ำตาลทรายขาว (-34.2%) น้ำผลไม้ (-28.2%)  ข้าวโพดหวานกระป๋อง (-27.0%) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (-24.7%) เครื่องปรุงรส (-7.9%) และทูน่ากระป๋อง (-6.7%) เป็นต้น

ราคาอาหารเดือนมีนาคม  2565 เพิ่มขิ้นร้อยละ 4.6 ตามการสูงขึ้นของราคาเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ร้อยละ 5.7 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และกุ้งขาว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 6.1 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผัดสด ร้อยละ 10.0 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 8.2 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.5 ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ -4.2 โดยลดลงจากราคาข้าวสารเจ้าและข้าวเหนียว และกลุ่มผลไม้สด ร้อยละ -3.3

การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่า 105,102 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 จากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากหลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19  อานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมถึง Base Effect จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การส่งออกไปประเทศจีน มีอัตราการส่งออกชะลอตัวลง เนื่องจากทางการจีนมีการใช้มาตรการโควิด-19 ที่เข้มงวดอีกครั้ง กระทบต่อการขนส่งเนื่องจากมีการปิดเส้นทางการขนส่งตามเมืองที่ประกาศมาตรการ lock-down

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101