มีนาคม 2565
การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.9 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 60.1 ขยายตัวจากอัตราร้อยละ 59.6 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวของภาคการผลิตเพิ่มขึ้นตาม ความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญ ประกอบกับ ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก ผลกระทบจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึง Base Effect จากฐานที่ต่ำ โดยกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะมีการผลิตขยายตัว ได้แก่ น้ำผลไม้ (+57.1%), สับปะรถกระป๋อง (+35.2%), เนื้อไก่สุกปรุงรส (+17.8%), แป้งมันสำปะหลัง (+9.4%), น้ำมันพืช (+8.7%), ทูน่ากระป๋อง (+5.1%) และกะทิ (+5.1%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ ผักผลไม้แช่แข็ง (-34.1%), ซาร์ดีนกระป๋อง (-23.4%) น้ำตาลทรายขาว (-22.9%) และเครื่องปรุงรส (-6.9%)
ราคาอาหารเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ร้อยละ 8.6 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และกุ้งขาว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 3.9 กลุ่มผักสด ร้อยละ 6.9 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 6.3 ที่เพิ่มขึ้นจากการสูงขึ้นของน้ำมันพืช และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.1 โดยสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ -4.2 จากการลดลงของราคาข้าวสาร ข้าวจ้าว และข้าวเหนียว และกลุ่มผลไม้สด ร้อยละ -4.8 จากการลดลงของราคาฝรั่ง ข้าวหอม และกล้วยน้ำว้า
การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่า 94,357 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ขยายตัวจากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากหลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชมสามารถออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านได้มากขึ้นส่งผลดีต่อธุรกิจร้านอาหารและภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับกับอานิสงค์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมถึง Base Effect จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า
download PDF ย้อนกลับ