สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนธันวาคม 2564

มกราคม 2565

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนธันวาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 11.7 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 58.3 ขยายตัวจากอัตราร้อยละ 53.8 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวของภาคการผลิตเป็เพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคในช่วงเทสกาล ประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและอานิสงส์จากการอ่อนค่าเงินบาท ราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมถึง Base Effect จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้าโดยกลุ่มสินค้าที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่  ผักผลไม้แช่แข็ง (34.5%) กุ้งแช่แข็ง (+25.0%) ซอสและเครื่องปรุงรส (+23.4%) เนื้อไก่ปรุงสุก (+17.0%) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (+15.9%) ผักผลไม้บรรจุกระป๋อง (+12.1%) และแป้งมันสำปะหลัง (+5.8%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ น้ำตาลทรายขาว (-30.4%) ซาร์ดีนกระป๋อง (-18.4%)  ทูน่ากระป๋อง (-4.9%) และเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง (-1.7%)

ราคาอาหารเดือนธันวาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากราคาสินค้าในกลุ่มกลุ่มผักสด ร้อยละ 15.5   กลุ่มเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ร้อยละ 1.7 ตามการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย กุ้งขาว  กลุ่มไข่และผลิตภัรฑ์นม ร้อยละ 0.2  และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 6.2 จากการสูงขึ้นของน้ำมันพืช ประกอบกับกำลังซื้อ และปริมาณการบริโภคชะลอตัวลง จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ  โดยสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ -7.4 กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ -2.9 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ -0.1

การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่า 97,264 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 ขยายตัวจากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐฯและประเทศในสหภาพยุโรป การบริโภคภายในที่เพิ่มขึ้นของจีนจากมาตรการควบคุมการเดินทางออกนอกประเทศ ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มสูงขึ้น เงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมถึง Base Effect จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101