ธันวาคม 2564
การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนพฤศจิกายน 2564 ขยายตัวร้อยละ 5.7 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 52.3 จากอัตราร้อยละ 50.8 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน
การขยายตัวของภาคการผลิตเป็นผลจากปริมารวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น และการผลิตเพื่อเตรียมจำหน่ายในช่วงเทศกาล ประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและอานิสงส์จากการอ่อนค่าเงินบาทส่งผลให้กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มสินค้าที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มสินค้าที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ผักผลไม้แช่แข็ง (75.1%) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (+25.7%) เครื่องปรุงรส (+21.4%) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+18.4%) เนื้อไก่ปรุงสุก (15.5%) แป้งมันสำปะหลัง (+11.1%) น้ำตาลทรายขาว (+1.3%)และ เนื้อไก่แช่เย็นแช่เย็น (+0.6%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง (-15.0%) ทูน่ากระป๋อง (-10.5%) ซาร์ดีนกระป๋อง (-6.9%) และกุ้งแช่แข็ง (-5.0%)
ราคาอาหารเดือนพฤศจิกายน 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย กุ้งขาว กลุ่มผักสด ร้อยละ 12.7 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ตามราคาน้ำมันพืช ประกอบกับกำลังซื้อ และปริมาณการบริโภคชะลอตัวลง จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ -7.3 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ -0.3 กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ -2.8 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ -0.3
การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนพฤสจิกายน 2564 มีมูลค่า 96,923 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ขยายตัวตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐฯและประเทศในสหภาพยุโรปเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาและรายได้ในรูปเงินบาท รวมทั้งไทยได้รับประโยชน์จากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางตลาดโลก
download PDF ย้อนกลับ