สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนกันยายน 2564

ตุลาคม 2564

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนกันยายน 2564 ขยายตัวร้อยละ 3.6 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 50.3 หดตัวจากอัตราร้อยละ 49.7 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวของภาคการผลิตเป็นผลจากการฟื้นตัวของวัตถุดิบการเกษตร และฐานที่ต่ำในเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและอานิสงส์จากการอ่อนค่าเงินบาทส่งผลให้กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มสินค้าที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง (+80.7%) น้ำตาลทรายขาว (+80.6%) ผักผลไม้แช่แข็ง (22.8%) กุ้งแช่แข็ง (13.4%) เครื่องปรุงรส (+9.3%) ซาร์ดีนกระป๋อง (+9.1%) เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง (+1.0%) และแป้งมันสำปะหลัง (+0.8%) ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ เนื้อไก่ปรุงสุก (-23.0%) กากน้ำตาล (-20.2%) น้ำผลไม้
(-16.0%) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (-14.7%) ทูน่ากระป๋อง (-7.6%) และกะทิ (-6.4%)

ราคาอาหารเดือนกันยายน 2564 หดตัวร้อยละ 1.2 จากราคาสินค้าในกลุ่มแป้งข้าวและผลิตภัณฑ์ และกลุ่มอาหารสด อาทิ เนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้สด ที่ปรับลดลง ประกอบกับกำลังซื้อและปริมาณการบริโภคชะลอตัวลง จากการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้สถานประกอบการภาคบริการบางประเภทไม่สามารถเปิดกิจการได้เต็มศักยภาพ กระทบต่อกำลังซื้อและปริมาณการบริโภคชะลอตัวลง ทำให้เกิดภาวะอุปทานส่วนเกินในตลาด  โดยสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ -7.9  กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้้า ร้อยละ -1.5 กลุ่มผักสด ร้อยละ -5.3 กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ -3.8 ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มขื้น ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ +3.8 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ +4.8 

การส่งออกอาหารไทยเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่า 94,283 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.9 (%yoy) โดยเพิ่มขึ้นจากอานิสงส์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐฯและประเทศในสหภาพยุโรป รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาท และฐานที่ต่ำจากปีก่อน ทั้งนี้ การส่งออกข้าว ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปริมาณสต็อคข้าวผู้ซื้อลดลง และค่าเงินบาทอ่อนค่าที่ทำให้ราคาข้าวปรับตัวที่ลดลงมาอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับอินเดียและเวียดนามได้มากขึ้น มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นจากการส่งออกไปตลาดจีนซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกกุ้ง น้ำตาลทราย และผลิตภัณฑ์สับปะรด เพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นในตลาด ประกอบกับการฟื้นตัวของธุรกิจบริการร้านอาหารในประเทศคู่ค้าหลักที่กลับมาดำเนินกิจการอีกครั้งหลังคลายมาตรการ lock down ขณะที่สินค้าส่งออกในกลุ่มแช่แข็ง ลดลงจากฐานสูงในปีก่อนรวมทั้งสต็อกสินค้าในประเทศผู้นำเข้ายังอยู่ในระดับสูง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101