สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนมิถุนายน 2564

กรกฎาคม 2564

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมิถุนายน 2564 ขยายตัวร้อยละ 3.1  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 50.4 ขยายตัวจากอัตราร้อยละ 49.3 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวภาคการผลิตส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำในปีก่อน การเพิ่มขึ้นของวัตถุดิบการเกษตรที่ออกสู่ตลาดตามฤดูกาล และการผลิตเพื่อการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมของประเทศคู้ค้าสำคัญ หลังจากประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบริการร้านอาหารต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่โหมดของการฟื้นตัว โดยกลุ่มสินค้าที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มสูงได้แก่ น้ำตาลทรายร้อยละ 68.7 สับปะรดกระป๋องร้อยละ 56.5 แป้งมันสำปะหลังร้อยละ 38.2 การผลิตน้ำมันพืชร้อยละ 23.9 เนื้อไก่ปรุงสุกร้อยละ 22.7 กุ้งแช่แข็งร้อยละ 18.8 และการผลิตผลไม้และผักบรรจุกระป๋องร้อยละ 13.5

ราคาอาหารเดือนมิถุนายน 2564 เพิ่มขึ้นตัวร้อยละ 0.3 โดยมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ จากราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดบางรายการ อาทิ ข้าวสาร และผักสด ที่ปรับลดลง ประกอบกับกำลังซื้อและปริมาณการบริโภคชะลอตัวลง จากการแพร่ระบาดอย่างเป็นวงกว้างของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้มีการปิดตลาดหลายแห่ง และสถานประกอบการภาคบริการบางประเภทต้องปิดกิจการชั่วคราว โดยสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 2.2 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 3.0 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 6.2 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร้อยละ 4.1 ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 6.1 กลุ่มผักสด ลดลงร้อยละ 5.3 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.3

การส่งออกอาหารไทยเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่า 98,262 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 29.0 (%yoy) โดยเพิ่มขึ้นจากอานิสงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการระดมฉีดวัคซีนในประเทศ ทั้งนี้ ผลไม้สด (+214.1%) เป็นสินค้าหลักที่ผลักดันการส่งออกอาหารไทยในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกทุเรียนไปจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งปริมาณและราคาประกอบกับได้รับปัจจัยหนุนจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงการขยายช่องทางการค้าใหม่ๆ เช่น ออนไลน์ การส่งออกแป้งมันสำปะหลังขยายตัวในระดับสูงจากการส่งออกไปประเทศจีนเป็นหลัก ส่วนการส่งออกสับปะรดขยายตัวโดดเด่นในแทบทุกตลาดโดยเฉพาะตลาดหลักในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป รัสเซีย และออสเตรเลีย ที่ช่องทางจำหน่ายหลักในโรงแรมและร้านอาหาร เริ่มเปิดให้บริการหลังมีการกลับมาเปิดเมือง 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101