สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนพฤษภาคม 2564

มิถุนายน 2564

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 6.5  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 52.7 ขยายตัวจากอัตราร้อยละ 50.5 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวภาคการผลิตส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับตามการผลิตเพื่อการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมของประเทศคู้ค้าสำคัญ หลังจากประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบริการร้านอาหารต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่โหมดของการฟื้นตัว โดยกลุ่มสินค้าที่มีการผลิตขยายตัวได้แก่กลุ่มการผลิตผลไม้และผักบรรจุกระป๋อง โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋องและข้าวโพดหวานกระป๋องที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.7 และร้อยละ 42.7 ตามลำดับ กลุ่มเนื้อสัตว์ ได้แก่เนื้อไก่ปรุงสุกและเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ และกลุ่มอาหารทะเลแช่แข็ง ได้แก่กุ้งแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3   

ราคาอาหารเดือนพฤษภาคม 2564 เพิ่มขึ้นตัวร้อยละ 0.1 โดยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง จากราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดบางรายการ อาทิ ข้าวสาร และผักสด ที่ปรับลดลง จากการแพร่ระบาดอย่างเป็นวงกว้างของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้มีการปิดตลาดหลายแห่ง และสถานประกอบการภาคบริการบางประเภทต้องปิดกิจการชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและปริมาณการบริโภคชะลอตัวลง โดยสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 2.6 กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ 6.1 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 3.7 ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 6.2 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 0.7 กลุมผักสด ลดลงร้อยละ 5.5 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.2 

การส่งออกอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่า 105,178 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 (%yoy) โดยเพิ่มขึ้นจากอานิสงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการระดมฉีดวัคซีนในประเทศ โดยการส่งออกไก่ เพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศที่ทำให้ธุรกิจบริการร้านอาหารต่างๆ กลับมาดำเนินการได้อีกครั้งส่งผลให้มีความต้องการนำเข้าไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปเพิ่มขึ้น การส่งออกส่วนการส่งออกมันสำปะหลัง ขยายตัวตามการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกข้าวยังคงมีการส่งออกหดตัวอย่างต่อเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรงในตลาด การส่งออกน้ำตาลทรายหดตัวจากการส่งออกไปเวียดนามซึ่งเป็นตลาดส่งออกน้ำตาลสำคัญของไทย ที่มีการเก็บภาษีการนำเข้าน้ำตาลทรายจากไทยมากขึ้นเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดและการตอบโต้การอุดหนุนสินค้าน้ำตาลทรายนำเข้าของไทย ประกอบกับอินโดนีเซียมีการสนับสนุนให้มีการผลิตน้ำตาลทรายในประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้นำเข้าน้ำตาลจากไทยลดลง 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101