สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนธันวาคม 2563

มกราคม 2564

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนธันวาคม 2563 หดตัวร้อยละ 12.0  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 54.2 ลดลงจากอัตราร้อยละ 60.6 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอตัวของความต้องการบริโภคในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่อ่อนตัวลงจากการที่หลายประเทศหันกลับไปใช้มาตรการ Lockdowns เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอีกครั้ง ฉุดให้การบริโภคและความต้องการสินค้าในประเทศผู้นำเข้าอ่อนตัวลง เป็นปัจจัยลบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต

การบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากแรงกดดันด้านราคาที่ร้อยละ 1.4 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะในหมวดยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และปศุสัตว์ อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการบริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำเนื่องมาจากภาวะทางเศรษฐกิจ และแรงฉุดจากการลดลงของนักท่องเที่ยวโดยสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่สินค้าในกลุ่มผักสด ร้อยละ12.9 ซึ่งสูงขึ้นเกือบทุกชนิด กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 2.9 จากการสูงขึ้นของเนื้อสุกร กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 0.4 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 3.3 จากการสูงขึ้นของน้ำมันพืช ซอสหอยนางรม และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (น้ำดื่มน้ำผลไม้ น้ำหวาน และกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม)

การส่งออกอาหารไทยเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่า 72,987 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.9 (yoy) จากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ทำให้การส่งมอบสินค้าล่าช้า ประกอบกับความต้องการนำเข้าสินค้าอาหารที่ลดลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงอยู่ในระดับรุนแรง ทำให้มีมาตรการล็อกดาวน์ และคุมเข้มร้านอาหารอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและการบริการที่หดตัวลง ทั้งนี้ สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยเพิ่มสูงจากความต้องการนำเข้าของปรเทศผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างจีน ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส เพิ่มขึ้นจากความนิยมบริโภคอาหารทำเองที่บ้าน

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101