สวัสดี

Monthly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารเดือนมิถุนายน 2562

กรกฎาคม 2562

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมิถุนายน 2562 หดตัวลงร้อยละ 1.1 เทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 51.5 ลดลงจากร้อยละ 53.1 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน

•กลุ่มสินค้าที่มีปริมาณการผลิตลดลงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก โดยลดลงจากการชะลอคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศ เนื่องมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก
•กลุ่มสินค้าหลักที่การผลิตลดลง อาทิ สับปะรดกระป๋อง (-48.2%),  น้ำตาล (-9.4%), ทูน่ากระป๋อง (-8.0%), เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง (-7.5%), แป้งมันสำปะหลัง (-7.4%) และกุ้งแช่แข็ง (-3.4%)

 

การบริโภคภายในประเทศในกลุ่มสินค้าอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราการเพิ่มขึ้นไม่ได้สูงนักเนื่องจากระดับราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน 2562 ดัชนีราคาผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.1 ในปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาหารสด ได้แก่ ผักสด (+20.0%) และเนื้อสัตว์สด (11.3%) ปัจจัยหลักที่ผลักดันราคาสินค้าอาหารให้ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่

•สภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้สินค้าอาหารสดเน่าเสียง่าย ส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงและราคาปรับตัวสูงขึ้นขณะที่ความต้องการในตลาดยังมีอย่างต่อเนื่อง
•ผลผลิตสินค้าในกลุ่มผลไม้สดถูกส่งออกจำหน่ายไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด กดดันราคาในประเทศเพิ่มสูงขึ้นฃ
 

การส่งออกอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2562 มีมูลค่า 80,081 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 12.8 โดยได้รับปัจจัยลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความผันผวนของค่าเงินบาท

•การส่งออกข้าว หดตากการตีตลาดของข้าวจีนที่ทำให้ราคาข้าวโลกลดต่ำลงต่อเนื่อง ประกอบกับค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับแข็งค่า และผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง ทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยลดลง
•การส่งออกแป้งมันสำปะหลัง ลดลงจากการชะลอตัวการส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ จีนและอินโดนีเซีย ประกอบกับเป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิต และฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังที่ได้ลดต่ำลง
•การส่งออกไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสหภาพยุโรปเพิ่มปริมาณโควตานำเข้าไก่ของไทย ประกอบกับจีน และเกาหลีใต้มีการนำเข้าไก่สดจากไทยต่อเนื่องจากช่วงปีก่อน
 
 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101