สวัสดี

Monthly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารเดือนมีนาคม 2562

เมษายน 2562

รายละเอียด :

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารเดือนมีนาคม  2562 หดตัวร้อยละ 4.2 เทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 71.7 จากกำลังซื้อต่างประเทศที่อ่อนตัวลงตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ การลดลงของวัตถุดิบสินค้าการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ รวมทั้งโรงงานน้ำตาลเริ่มทยอยปิดหีบหลักจากที่มีการเปิดหีบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการส่งออกที่ขยายตัวขึ้น ได้แก่ เนื้อไก่ปรุงสุก (6.6%) และแป้งมันสำปะหลัง (4.3%) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นตลาดในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม (+6.9%), น้ำมันพืช (+4.6%) และบะหมี่ก่ำสำเร็จรูป
(+3.8%) เป็นต้น

 

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารเดือนมีนาคม  2562 หดตัวร้อยละ 4.2 เทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 71.7 จากกำลังซื้อต่างประเทศที่อ่อนตัวลงตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ การลดลงของวัตถุดิบสินค้าการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ รวมทั้งโรงงานน้ำตาลเริ่มทยอยปิดหีบหลักจากที่มีการเปิดหีบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการส่งออกที่ขยายตัวขึ้น ได้แก่ เนื้อไก่ปรุงสุก (6.6%) และแป้งมันสำปะหลัง (4.3%) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นตลาดในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม (+6.9%), น้ำมันพืช (+4.6%) และบะหมี่ก่ำสำเร็จรูป
(+3.8%) เป็นต้น

 

ดัชนีราคาสินค้าอาหารส่งออกเดือนมีนาคม 2562 หดตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าส่วนใหญ่ที่มีการปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากปัญหาอุปทานล้นตลาด และการแข่งขันที่รุนแรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะราคาส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และน้ำตาลทรายที่ยังคงมีอัตราการเติบโตติดลบเนื่องจากปริมาณผลผลิตในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้กลุ่มสินค้าที่มีราคาส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (1.0%), ผักกระป๋องและแปรรูป (1.8%), ผลิตภัณฑ์ข้าว (1.8%), เครื่องปรุงรสอาหาร (1.5%) และโกโก้และของปรุงแต่ง (0.7%)

 

การส่งออกอาหารไทยเดือนมีนาคม 2562 มีมูลค่า 87,188 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 (%yoy) จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไก่ยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องจากการส่งออกในทวีปเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ขณะที่การส่งออกแป้งมันสำปะหลังยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากความต้องการนำเข้าจากจีน และอินโดนีเซีย ส่วนการส่งออกกุ้ง สับปะรด และน้ำตาลทราย ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาผลิตผลิตล้นตลาด ประกอบกับค่าเงินบาทอยู่ในช่วงแข็งค่า ส่งผลให้ราคาสินค้าของไทยแพงกว่าประเทศคู่แข่งค่อนข้างมาก ทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101