ตุลาคม 2561
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารเดือนกันยายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 1.8 เทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 48.1 ภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามความต้องการสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกและการบริโภคในประเทศ โดยเฉพาะการผลิตน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากผู้ประกอบการเร่งผลิตเพื่อรองรับปริมาณอ้อยเพิ่มสูงถึงร้อยละ 40 – 50 จากปีก่อน ประกอบกับการผลิตทูน่ากระป๋องที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของประเทศคู่ค้า หลังจากความกดดันด้านราคาวัตถุดิบและราคาสินค้าคลายตัว โดยอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการส่งออกที่ขยายตัวขึ้น ได้แก่ น้ำตาล (+103.2%) และทูน่ากระป๋อง (+18.3%) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นตลาดในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ (9.8%) และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (+2.2%)
ดัชนีราคาสินค้าอาหารส่งออกเดือนกันยายน 2561 หดตัวร้อยละ 2.7 เทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน สาเหตุที่ทำให้ราคาส่งออกอาหารโดยภาพรวมหดตัวลง เป็นผลมาจากราคาน้ำตาลทรายเป็นหลัก โดยราคาน้ำตาลที่ลดลงอย่างมากตามภาวะสินค้าในตลาดโลก กลุ่มสินค้าที่มีราคาส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักกระป๋องและแปรรูป (+3.4%), นมและผลิตภัณฑ์นม (+3.0%), เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (+2.4%), โกโก้และของปรุงแต่ง (+1.1%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (0.3%) และผลิตภัณฑ์ข้าว (+0.1%) ส่วนสินค้าที่มีราคาส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำตาลทราย (-25.6%), น้ำมันจากพืชและสัตว์ (-1.9%), ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (-1.9%) และเครื่องปรุงรส (-0.4%)
download PDF ย้อนกลับ