TOP
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร
Food Industry
Thailand Food Industry Profile
Overview
Sector Monitor
Thailand Food Industry Update
Monthly Situation
Quarterly Situation
Hot issue
Food Directory
Market Intelligence
Market Intelligence
Thailand Food Market Report
Market Report
Market Share
World Food Market Report
Situation Report
Market Report
World food update
Market Trend
Global Food Industry Profile
Law & Regulations
Food Law
NFI Food Safety Early Warning
World Food Law & Reg. News
Technology
Innovation corner
Statistics
เกี่ยวกับเรา
บริการ
Knowledge
ถาม-ตอบ
ติดต่อเรา
ค้นหา
LOG IN
สมัครสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
Knowledge
ถาม-ตอบ
ติดต่อเรา
LOG IN
สมัครสมาชิก
SEARCH
by Date :
to :
--- Categories ---
SEARCH
MEMBER LOG IN
Username
Password
SIGN IN
การดาวน์โหลดไฟล์ PDF ในครั้งแรก ถ้าระบบไม่ลิงค์ไปยังไฟล์ที่กดให้สังเกตุที่แทบบาร์ด้านบน โดยจะต้องกดปลดบล็อค Pop Up ที่ Browser ก่อนค่ะ
สวัสดี
สมัครสมาชิกผู้ใช้งานทั่วไป
หน้าแรก
Industry overview
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารเดือนมิถุนายน 2561
Monthly Situation
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารเดือนมิถุนายน 2561
กรกฎาคม 2561
รายละเอียด :
ฉบับเดือนกรกฎาคม 2561
อุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมิถุนายน 25
61
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมิถุนายน 256
1
เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.0 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 49.9 จากอัตราร้อยละ 47.6
ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามการขยายตัวของความต้องการสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศและอุตสาหกรรม
ที่ผลิตเพื่อการส่งออก ได้แก่ กาแฟ (+29.2%), น้ำผลไม้ (+13.2%), ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ (+12.9%), บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+11.8%) และผลิตภัณฑ์นม (+5.1%)
ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมน้ำตาล (+59.5%), สับประรดกระป๋อง (+19.7%), ปลาทูน่ากระป๋อง (+7.4%) และ
ไก่แช่เย็นแช่แข็ง (+2.3%)
การส่งออกอาหารไทยเดือนมิถุนายน 256
1
มีมูลค่า 87,932 ล้านบาท
หดตัวร้อยละ 1.2 (%yoy) โดยมีอัตราการเติบโตปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับอัตรา
การหดตัวตัวร้อยละ 5.0 ในเดือนก่อนหน้า สาเหตุที่การส่งออกอาหารยังคงมีอัตราการเติบโตหดตัวต่อเนื่องจากการชะลอคำสั่งซื้อและการส่งมอบสินค้า โดยเฉพาะ สินค้ากุ้ง และสับปะรดกระป๋อง ที่ประสบภาวะสินค้าล้นตลาดอันเนื่องมาจากผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากเกินกว่าความต้องการ ทำให้ผู้ซื้อหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้นเนื่องจากประเทศคู่แข่งมีราคาดีกว่าไทย ในขณะที่การส่งออกไก่ และน้ำตาลยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สินค้าส่งออกหลัก
5 ใน 11 รายการ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2561
ได้แก่ ไก่ (+7.3%), น้ำตาลทราย (+4.2%), ทูน่ากระป๋อง (+1.5%), เครื่องปรุงรส (+5.5%) และอาหารพร้อมรับประทาน (+16.9%)
ส่วนสินค้าส่งออกหลัก 6 ใน 11 รายการ ที่ขยายตัวลดลง
ได้แก่ ข้าว (-1.4%), กุ้ง (-25.5%),
แป้งมันสำปะหลัง (-5.0%), ผลิตภัณฑ์สับปะรด (-26.4%), ผลิตภัณฑ์มะพร้าว
(-2.7%) และน้ำผลไม้ (-27.5%)
ดัชนีราคาสินค้าอาหารส่งออกเดือนมิถุนายน 256
1
หดตัวร้อยละ 0.2
เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่วนใหญ่มีราคาปรับลดลงจากเดือนก่อน ตามการอ่อนค่าของเงินบาท ประกอบกับปริมาณผลผลิตสินค้าเกาตรอาหารหลายรายการในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าความต้องการที่มีในตลาด ทำให้ราคาปรับลดลง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สับปะรด กุ้ง และน้ำตาลทราย กลุ่มสินค้าที่มีราคาส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม (+6.5%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (+6.3%) และผักกระป๋องและแปรรูป (+5.2%)
download PDF
ย้อนกลับ
สถาบันอาหาร
อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร
2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
Google map
ติดต่อสอบถาม
Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101