ออสซี่ออกหลักเกณฑ์ฉลาก COOL
รัฐสภาออสเตรเลียประกาศรับร่างกฎหมายการแสดงประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าฉบับใหม่ หรือ The proposed Accurate Country of Origin Labelling for
Food (Competition and Consumer Act Amendment) Bill 2012 โดยร่าง
ข้อเสนอกฎหมายฉบับใหม่นี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย Food Standards Code และ
Competition and Consumer Act ใน Part 5-3 สำหรับความชัดเจนในการระบุประเทศแหล่งที่มาสินค้า
อาหารที่มีลักษณะพิเศษหรือมีความเฉพาะเจาะจง (food-specific)
สาระสำคัญของกฎหมายนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแสดงประเทศหรือแหล่งที่มาของสินค้าอาหารโดยดู
ที่ปริมาณและลักษณะของส่วนผสม (weight of ingredients and components) เพื่อให้สามารถระบุข้อความ
บนฉลากอย่างเหมาะสม ดังนี้
“Made of Australian Ingredients” สำหรับสินค้าอาหารที่มีส่วนผสม (ingredients) อย่าง
น้อย 90% โดยน้ำหนัก ที่มีต้นกำเนิดในออสเตรเลีย (ปัจจุบันใช้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับการแสดงถึง
สัญลักษณ์ Australia Made)
• “Grown in Australia” สำหรับอาหารที่ได้จากการเพาะปลูกในออสเตรเลียทั้งหมด
• ยกเลิกการใช้คำว่า ‘Made in’ หากอ้างถึงอาหารออสเตรเลีย
• ห้ามใช้คำว่า ‘Product of Australia’ ซึ่งจะใช้อ้างเฉพาะสินค้าที่มิใช่อาหาร
โดยหลักเกณฑ์เหล่านี้จะเป็นมาตรการบังคับกับอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์และผัก
ผลไม้ รวมทั้งจะมีมาตรการกำหนดการใช้สัญลักษณ์ (logo) เป็นพิเศษด้านหน้าภาชนะบรรจุ
และคำอธิบายเฉพาะด้านหลังภาชนะบรรจุ หรือขนาดตัวอักษรเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยลดความ
สับสนทั้งต้อผู้ผลิตในการกล่าวอ้าง (claims)
การอ้างแหล่งที่มาสินค้าอาหารจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าบางชนิดในขณะเดียวกัน
ผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้ออาหารที่ผลิตจากในประเทศได้มากขึ้นซึ่งจะส่งผลทางอ้อมต่อ
อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าชาวออสเตรเลียเพียง
ร้อยละ 50 เท่านั้น ที่มั่นใจแหล่งที่มาของอาหารในประเทศหากมีคำว่า ‘Australian Made’
และ ‘Made in Australia’
อย่างไรก็ตามมาตรฐานที่กำ หนดนี้ยังพิจารณาที่น้ำ หนักแห่งเท่านั้น ยังต้องทำ ความเข้าใจกับ
ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเพื่อป้องกันความสับสนและการนำไปใช้ ทั้งนี้กฎหมายฉบับนี้คาดว่าจะประกาศใช้
อย่างเป็นทางการภายในเดือนกันยายน 2555 นี้
download PDFญี่ปุ่นเตรียมอนุญาตเพิ่มเติม รายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) อ...
เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา หน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority, EFSA) ได้ประกาศผลการทบทวนปริมาณการตกค้างสู...