เชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus-ZIKV) เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เช่น Ae. africanus Ae. apicoargenteus Ae. luteocephalus Ae. aegypti เป็นต้น เชื้อไวรัสซิกาทำให้เกิดโรคไข้ซิกา (Zika fever) โดยไวรัสซิกาถูกแยกเชื้อครั้งแรกในปีพ.ศ.2490 (ค.ศ.1949) จากน้ำเหลืองของลิง rhesus ที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่าชื่อ ซิกา ประเทศยูกันดา และแยกเชื้อได้จากคนในปีพ.ศ.2511 (ค.ศ.1968) ณ ประเทศไนจีเรีย มีระยะฟักตัว 4-6 วัน จากนั้นจะมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะรุนแรง มีผื่นแบบ maculopapular ที่บริเวณลำตัว แขนขา วิงเวียน เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ อาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง
นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แจ้งว่า สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่งได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2559 ศุลกากรกลางจีน (General Administration of China Customs : GACC) ได้ออกประกาศการเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้านำเข้าจากประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิกา (Zika Virus) ตามที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) จำนวน 40 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเข้าสู่จีน โดยกำหนดให้ยานพาหนะขนส่ง และตู้คอนเทนเนอร์ที่มาจากประเทศและพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ให้ผ่านการรับรองการกำจัดยุ่งอย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ไม่มีการรับรอง ทางการจีนจะดำเนินมาตรการกำจัดยุงโดยตรวจยานพาหนะขนส่ง สินค้า ตู้คอนเทนเนอร์ กระเป๋าสัมภาระ และพัสดุไปรษณีย์ที่มาจากประเทศและพื้นที่ดังกล่าวอย่างเข้มงวดโดยทันที ทั้งนี้ประกาศนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 1 ปีตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2559 ถึง วันที่ 1 มีนาคม 2560
นางดวงพร รอดพยาธิ์ กล่าวเสริมว่า สำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรค (General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine : AQSIQ) ของจีนที่รับผิดชอบการตรวจโรคระบาดชี้แจงว่า มาตรการนี้ไม่ใช่มาตรการกีดกันทางการค้า แต่ถือเป็นมาตรการควบคุมโรคระบาด ซึ่งหาก WHO ถอนรายชื่อไทยออกจากการเป็นพื้นที่ระบาดของไวรัสซิกา ทางการจีนจะยกเลิกการใช้มาตรการดังกล่าวกับไทยทันที ดังนั้นในช่วงที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้กับสินค้าที่ออกจากประเทศและพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดดังกล่าวต้องมีใบรับรองการกำจัดยุงโดยใช้สารฉีดพ่นยาที่ WHO กำหนดจากประเทศต้นทางกำกับมากับตู้สินค้าทุกตู้ โดยใบรับรองดังกล่าวสามารถออกโดยหน่วยงานราชการหรือเอกชนก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ กรณีที่ตู้สินค้าใดยังไม่มีใบรับรองกำกับมาด้วย ทางการจีนจะพ่นยากำจัดยุงให้ ณ ด่านนำเข้า โดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้นำเข้า นอกจากนี้ทางการจีนยังสามารถทำการสุ่มตรวจยานพาหนะ และตู้คอนเทนเนอร์ที่ได้รับการรับรองแล้ว หากตรวจพบยุงในตู้สินค้าอีก ทางการจีนจะฉีดพ่นยากำจัดยุงซ้ำได้ในส่วนของความคืบหน้าการเตรียมการของฝ่ายไทยสำหรับเรื่องนี้ กรมวิชาการเกษตรและกรมควบคุมโรคได้กำหนดให้บริษัทรับจ้างกำจัดศัตรูพืช (Surveyor) ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ฉีดพ่นยา และออกใบรับรองดังกล่าว สามารถสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.aqsiq.gov.cn/
ที่มา :
download PDF
สหภาพยุโรปประกาศแก้ไขวิธีการสุ่มตัวอย่างและการตรวจวิเคาระห์อาหารสัตว์ สหภาพยุโรปประกาศระเบียบฉบับใหม่ Commission Regulation (EC) No 152/2009 of 27...
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563 องค์กรบริหารจัดการระเบียบการตลาด (State Administration of Market Regulation : SAMR) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ทางเทคนิคต่างๆ เกี่ยว...