ในทางตรงข้าม ด้านโรงงานแปรรูปสินค้าทางการเกษตรเกิดโอกาสทองในด้านต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรที่ลดต่ำลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงเช่นกัน (กำไรมากขึ้น) จึงดำเนินการจัดซื้อเพื่อกักตุนวัตถุดิบและนำมาแปรรูปให้เป็นสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น แต่วัตถุดิบทางการเกษตรเหล่านี้มีอายุการเก็บรักษาที่ไม่นาน ทางโรงงานแปรรูปต้องเร่งกระบวนการเพื่อแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรทั้งการแปรรูปขั้นต้นหรือแปรูปขั้นสูงเพื่อให้เป็นสินค้าที่พร้อมจัดจำหน่ายและยังสามารถจัดเก็บสินค้าไว้ได้นาน
จากพฤติกรรมดังกล่าวของผู้ประกอบการที่ใช้สินค้าทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบในการผลิตนั้น จะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณสินค้าในคลังสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามสินค้าที่โรงงานผลิต (ตามฤดูกาลของวัตถุดิบ) ซึ่งจะมีปริมาณมากของสินค้าตามฤดูกาล แต่สินค้านอกฤดูกาลจะมีปริมาณที่น้อยลง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปริมาณของสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล และการผลิต จะถูกส่งผลไปถึงพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า (Warehouse storage) ที่โรงงานมีอยู่เท่าเดิมตลอด ดังนั้นทางผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในคลังสินค้าให้คุ้มค่ามากที่สุดโดยการบริหารจัดการพื้นที่ในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่ โดยต้องใช้กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้า (Storage Strategy) ในคลังสินค้าด้วย ระบบการจัดเก็บที่ไม่ได้กำหนดตามแหน่งตายตัว (Flexible Location System)
รูปที่ 1 โซ่อุปทานโดยสังเขปของภาคอุตสาหกรรม
1.2 ระบบโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมอาหาร (Food industry) [1] หมายถึง อุตสาหกรรมที่น าผลิตผลจากภาคเกษตร ได้แก่ผลิตผลจากพืช ปศุสัตว์ และประมง มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหาร โดยอาศัยเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหาร (foodprocessing equipment) บรรจุภัณฑ์อาหาร (packaging) เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้ปริมาณมากๆ มีคุณภาพสม่ำเสมอ ปลอดภัย และสะดวกต่อการบริโภค หรือการนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป และเป็นการยืดอายุ
download PDF
รายงานการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร โครงการ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน(Max-U) เรื่อง การจัดผังโรงง...
ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality to the World) ฝ่ายวิจัยและข้อมูล สถาบันอาหาร พฤศจิกายน 2557...