10 กุมภาพันธ์ 2566
หน่วยงานด้านความปลอดภัยของผลิตผลทางการเกษตรและอาหารแห่งรัฐอาบูดาบี[ก] ได้แถลงการณ์
ผ่าน MoCCAE เพื่อยืนยันว่าทุกผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้
ยืนยันโดยผลการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันแหล่งที่มาของโปรตีนก่อนการจัดจำหน่ายในท้องตลาดภายในประเทศตามข้อบังคับด้านสุขภาพทั้งในประเทศ และมาตรฐานสากล อีกทั้งยังไม่ขัดต่อศาสนบัญญัติอิสลามหรือฮาลาล เพื่อสยบข่าวลือบนสื่อสังคมออนไลน์ว่าพบซากแมลงในอาหารที่จำหน่ายในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนเรื่องการตั้งใจเติมแมลงเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสมหนึ่งในอาหารเช่นเดียวกับบางประเทศในสหภาพยุโรปนั้น ยังไม่ได้รับอนุญาตในภูมิภาค GCC[ข]
อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลามให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้2 ซึ่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อนุญาตให้พบชิ้นส่วนของผึ้งในน้ำผึ้งได้ตามข้อกำหนดด้านเทคนิคว่าด้วยมาตรฐานอาหารฮาลาล ซึ่งกำหนดโดย MoCCAE
ที่มา :
1 Samihah Zaman, February 19, 2023. Abu Dhabi debunks rumours about ‘insects in food’
Online : https://gulfnews.com/uae
2 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, พ.ศ.2557.
มาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งชาติ. Online : https://www.acfs.go.th/halal/general.php
[ก] The Abu Dhabi Agriculture and Food Safety Authority (Adafsa) สังกัดภายใต้
กระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาหารและสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (MoCCAE)
[ข] คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council, GCC)