17 ธันวาคม 2564
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2564 สำนักงานมาตรฐานอาหาร (Food Standard Agency) ออกเอกสารเปิดรับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อกำหนดของการติดฉลากป้องกันสารก่อภูมิแพ้และข้อมูลสารก่อภูมิแพ้ โดยให้มีการเพิ่มข้อความแจ้งเตือนในกรณีที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนข้ามสารก่อภูมิแพ้โดยไม่ได้ตั้งใจ ขอแนะนำให้ใช้ข้อความแจ้งเตือนเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้เพื่อแจ้งความเสี่ยง
ปัจจุบันกฎหมายการติดฉลากได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารระบุว่ามีสารก่อภูมิแพ้หลัก 14 ชนิด[1] ที่ใช้เป็นส่วนผสมหรือสารช่วยในการแปรรูป โดยสามารถสื่อสารข้อมูลได้หลายวิธี ทั้งนี้ยังมีการปนเปื้อนที่ไม่ได้เกิดจากการจงใจเติมหรือผสมสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ ลงในผลิตภัณฑ์ โดยวลีที่พบบ่อยที่สุดเพื่อแสดงความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนข้ามสารก่อภูมิแพ้โดยไม่ได้ตั้งใจคือ “อาจมี” และสามารถให้ข้อมูลด้วยวาจา บนป้าย ฯลฯเพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจนและสม่ำเสมอยิ่งขึ้น ในรูปแบบที่เข้าใจและมีความหมายต่อผู้บริโภค ในแง่ของรูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลในการลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนข้ามของอาหาร
ทั้งนี้ ร่างจะเปิดรับข้อคิดเห็นจนถึง 14 มีนาคม 2565
[1] celery, cereals containing gluten (such as barley and oats), crustaceans (such as prawns, crabs, and lobsters), eggs, fish, lupin, milk, molluscs (such as mussels and oysters), mustard, peanuts, sesame, soybeans, sulphur dioxide and sulphites (if they are at a concentration of more than ten parts per million) and tree nuts (such as almonds, hazelnuts, walnuts, brazil nuts, cashews, pecans, pistachios, and macadamia nuts).