25 กันยายน 2562
สาระสำคัญของมาตรฐานการแสดงฉลากฉบับใหม่ หรือ FLS มีดังนี้
1. ปรับการจำแนกกลุ่มอาหารระหว่างอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป (Processed food) กับอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรืออาหารสด (Perishable food) ตามกฎหมายมาตรฐานสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น หรือ JAS Law [เช่น ผลไม้แห้ง ซึ่งผ่านการทำให้แห้งจัดเป็น processed food]
2. แก้ไขข้อกำหนดการระบุ Manufacturer Identification Codes หรือหมายเลขผู้ผลิตซึ่งจะช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น และกำหนดให้ฉลากต้องระบุข้อมูลต่อไปนี้ 1) customer service contact information 2) company website address หรือ 3) names, addresses, and ID codes
3. แก้ไขข้อกำหนดในการแสดงข้อมูลอาหารที่ทำให้เกิดการแพ้ชนิดต่างๆ โดยมีการกำหนดสัญลักษณ์/ข้อความ ที่จะช่วยให้แยกผลิตภัณฑ์อาหารออกจากอาหารทั่วไปได้อย่างชัดเจน
4. กำหนดให้ฉลากโภชนาการเป็นสิ่งที่บังคับต้องแสดงบนฉลากอาหารที่มีการบรรจุหีบห่อ [ต้องสารอาหารที่มีอันตรายต่อสุขภาพที่ผู้บริโภคเข้าใจได้ เช่น โซเดียม ให้แสดงด้วย เกลือ (Salt equivalent)]
5. แก้ไขข้อกำหนดการกล่าวอ้างปริมาณสารอาหาร (Nutrients content claims) เช่น “No use of sugar” และปรับปรุงเกณฑ์ปริมาณสารอาหารที่ใช้อ้างอิงในการกล่าวอ้าง ซึ่งฉลากอาหารต้องระบุชนิดสารอาหารที่จำเป็นให้ครบถ้วน
6. เปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร (Nutrients function claims) เช่น n-3 fatty acid, วิตามินเค หรือโพแทสเซียม เป็นต้น โดยเฉพาะในอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป
7. เปลี่ยนข้อกำหนดในการแสดงรายการส่วนผสม (Ingredients list) ซึ่งต้องแสดงรายการของส่วนผสมย่อยให้เห็นชัดเจน
8. แก้ไขข้อกำหนดการแสดงฉลากวัตถุเจือปนอาหารเพื่อจำหน่ายต้องระบุชื่อและที่ตั้งของผู้รับผิดชอบสินค้า และ น้ำหนักสุทธิ ด้วย