สวัสดี

EU กำหนดแผนสุ่มตรวจปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืชในสินค้าอาหารประจำปี 2562-2564

แชร์:
Favorite (38)

19 พฤษภาคม 2561

          เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 คณะกรรมการสหภาพยุโรปได้ออกประกาศ COMMISSION IMPLEMENTING REGULATION (EU) 2018/555 of 9 April 2018 concerning a coordinated multiannual control programme of the Union for 2019, 2020 and 2021 to ensure compliance with maximum residue levels of pesticides and to assess the consumer exposure to pesticide residues in and on food of plant and animal origin ว่าด้วยการให้มีการสุ่มตรวจปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืชในสินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป เพื่อประเมินความเสี่ยงที่มีต่อผู้บริโภค ที่ครอบคลุมระหว่างปี 2562 – 2564 ซึ่งระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ประเทศสมาชิก EU ตรวจพบสารกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่มีสารออกฤทธิ์ชนิดอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ หรือตรวจพบเมทาบอไลท์ การเสื่อมสภาพ หรือปฎิกริยาใด ๆ ในสินค้าอาหาร ต้องแจ้งให้คณะกรรมาธิการยุโรปทราบด้วย ซึ่ง EFSA ได้กำหนดแนวทางการนำเสนอข้อมูลที่สุ่มตรวจตาม Standard Sample Description (SSD) และกำหนดวิธีและกระบวนการสุ่มตรวจสินค้าอาหารที่เกี่ยวข้องตาม Directive 2002/63/EC โดยอิงข้อแนะนำจาก Codex Alimentarius ร่วมด้วย
  2. ขอให้ประเทศสมาชิก EU ให้ความสำคัญกับการสุ่มตรวจสินค้าอาหารโดยเฉพาะกลุ่มสำหรับเด็ก ทารก เด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่มาจากฟาร์มออร์แกนิก เนื่องจากค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่อนุญาตให้พบได้สำหรับสินค้ากลุ่มดังกล่าวจะมีปริมาณต่ำกว่าอาหารปกติ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 10 ของ Directive 2006/141/EC และมาตรา 7 ของ Directive 2006/125/EC
  3. ประเทศสมาชิก EU จะต้องส่งผลการสุ่มตรวจสินค้าอาหารประจำปีภายใต้มาตรการดังกล่าว ภายในวันที่ 31 สิงหาคมของปีถัดไป และยกเลิก Implementing Regulation (EU) 2017/660 แต่ยังคงทำการสุ่มตรวจในปี 2561 ไว้เช่นเดิมจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2562
  4. สุ่มตรวจปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืชในสินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป แยกเป็นรายปี ดังนี้

Part A : ผลิตภัณฑ์จากพืช

2562 (C)

2563 (a)

2564 (b)

แอปเปิ้ล (Apples)

ส้ม (Oranges)

องุ่นบริโภคผลสด (Table grapes)  

สตรอว์เบอร์รี่ (Strawberries)

แพร์ (Pears)

กล้วย (Bananas)

พีช รวมถึงเนคทารีนและสายพันธุ์ใกล้เคียง (Peaches, including nectarines and similar hybrids)

กีวี (Kiwi fruits)

เกรปฟรุ้ต  (Grapefruits)

ไวน์ขาวและไวน์แดง

(Wine (red or white))

กะหล่ำดอก (Cauliflowers)

มะเขือม่วง (Aubergines)

ผักกาดหอม (Lettuces)

หัวหอม (Onions)

บรอกโคลี (Broccoli)

กะหล่ำปลี (Head cabbages)

แครอท (Carrots)

เมล่อน (Melons)

มะเขือเทศ (Tomatoes)

มันฝรั่ง (Potatoes)

เห็ด (Cultivated fungi)

ผักโขม (Spinaches)

ถั่วแห้ง (Beans (dried))

พริกหวาน/พริกหยวก (Sweet peppers/bell peppers)

ข้าวโอ๊ต (Oat grain)

ข้าวไรย์ (Rye grain)

ข้าวสาลี (Wheat grain)

ข้าวบาร์เลย์ (Barley grain)

ข้าวกล้อง (Brown rice)

น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Virgin olive oil)

Part B : ผลิตภัณฑ์จากสัตว์

นมวัว (Cow's milk)

ไขมันไก่ (Poultry fat)

ไขมันวัว (Bovine fat)

ไขมันหมู (Swine fat)

ไขมันแกะ (Sheep fat)

ไข่ไก่ (Chicken eggs)

ที่มา : Official Journal of the European Union. COMMISSION IMPLEMENTING REGULATION (EU) 2018/555 of 9 Apirl 2018 concerning a coordinated multiannual control programme of the Union for 2019, 2020 and 2021 to ensure compliance with maximum residue levels of pesticides and to assess the consumer exposure to pesticide residues in and on food of plant and animal origin. http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:3 2018R0555&from=EN. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561.

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101