สวัสดี

สวิตเซอร์แลนด์กำหนดค่า MRLs ในผัก ผลไม้

แชร์:
Favorite (38)

26 เมษายน 2561

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 Federal Food Safety and Veterinary Office (FSVO)      สมาพันธรัฐสวิส ออกกฎระเบียบการกำหนดระดับสารเคมีจำกัดศัตรูพืชที่ตกค้างปนเปื้อนในผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์นำเข้า โดยกำหนดระดับสารเคมีตกค้าง (maximum residue levels) ที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานของสหภาพยุโรป หรือ EU (ประกาศ EU ที่ 669/2009) โดยการใช้กฎระเบียบเดียวกันกับ EU นี้ เป็นความพยายามของสวิตเซอร์แลนด์ที่ต้องการให้กฎระเบียบของประเทศสอดคล้องกับกฎระเบียบของ EU ให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์สำหรับบริษัทนำเข้าในการจำหน่ายสินค้าของตนได้ทั้งในตลาด EU และตลาดสวิตเซอร์แลนด์ 

ในส่วนของกระบวนการตรวจสอบนั้น เจ้าหน้าที่ FSVO มีอำนาจที่จะสุ่มตรวจผักและผลไม้นำเข้า ณ ด่านศุลกากรต่างๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเน้นการสุ่มตรวจผักและผลไม้ที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ คะน้า ต้นหอม ผักชี กะเพรา โหระพา ถั่วฝักยาว พริก มะเขือพวง มะเขือเปราะ และขึ้นฉ่าย โดยจะใช้เวลาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการอย่างน้อย 1 เดือน ทั้งนี้ ในช่วงรอผลการตรวจสอบจะไม่มีการระงับหรือชะลอการนำเข้าผักและผลไม้ ซึ่งจะทำให้ยังคงสามารถจัดจำหน่ายได้ตามปกติ

          อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบว่าตัวอย่างที่สุ่มตรวจมีสารเคมีตกค้างเกินระดับที่กำหนด FSVO จะดำเนินการดังนี้

  1. แจ้งไปยังบริษัทผู้นำเข้าเพื่อระงับการนำเข้าจากผู้จัดจำหน่าย (supplier)
  2. แจ้งไปยังหน่วยงานภาครัฐของประเทศต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และหากพิจารณาแล้วว่าได้มีการแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว จะอนุญาตให้มีการนำเข้าอีกครั้ง
  3. FSVO อาจแจ้งกรณีดังกล่าวไปยัง EU ด้วยอีกทางหนึ่ง

          ทั้งนี้ FSVO ได้ให้ข้อมูลว่า ในช่วงปี 2555 – 2559 FSVO ได้สุ่มตรวจผักและผลไม้นำเข้าจากประเทศไทยจำนวน 411 ครั้ง พบว่าร้อยละ 22 มีสารเคมีเกินมาตรฐาน โดยพบในชนิดสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทย ได้แก่ ผักชี ต้นหอม กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว มะระจีน ผักกระเฉด และโหระพา นอกจากนี้ยังตรวจพบสารเคมีในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร้อยละ 3 อย่างไรก็ดี การตรวจพบในช่วงดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงก่อนหน้านี้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101