สวัสดี

Early Warning

สถานการณ์ขยะอาหาร (Food Loss&Food Waste) ทั่วโลก

มิถุนายน 2567

รายละเอียด :

FAO ประเมินว่าในทุกปีจะมีอาหารอย่างน้อย 1.3 พันล้านตัน หรือประมาณ 30% ของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมดทั่วโลกสูญเสียไปโดยไม่ได้บริโภค กลายเป็นขยะอาหาร ขยะอาหารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหาร เมื่ออาหารเน่าเปื่อย มันจะปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซที่อันตรายกว่า CO2 ถึง 20 เท่า และเศษอาหารมีส่วนต่อการผลิตก๊าซเรือนกระจก 70 พันล้านตัน หรือ 8% ของการปล่อยโดยมนุษย์ทั่วโลกต่อปี จึงสมเหตุสมผลที่เราจะช่วยกันป้องกันไม่ให้อาหารที่ดีเน่าเสียไปโดยไม่ได้บริโภค

ภายใต้นิยามขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จำแนกดังนี้ การสูญเสียอาหาร หรือ “food loss” หมายถึงสิ่งหรือวัตถุดิบอาหารใดๆ ที่สูญเสียไปตั้งแต่การเก็บเกี่ยว จนถึงกระบวนการแปรรูปก่อนถึงมือผู้บริโภค ส่วน “ขยะอาหาร” หรือ “food waste” คือ อาหารใดๆ ที่สูญเสียหรือถูกทิ้งโดยไม่ได้บริโภค แต่ในความเห็นของ World Food Program USA นั้น Food loss คือการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษา เช่น การสูญเสียในไร่นาอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ การสูญเสียระหว่างการเก็บเกี่ยวเนื่องจากขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการก็บเกี่ยว การสูญเสียระหว่างการเก็บรักษา ถูกทำลายโดยแมลงและสัตว์ชนิดต่าง ๆ เกิดการเน่าเสียเนื่องจากขาดสถานที่และอุปกรณ์ในการเก็บรักษา

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527