สวัสดี

Area based Industry

อุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ (Area-based Industry) สาขาอาหาร - เชียงใหม่

กันยายน 2562

รายละเอียด :

1. ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566,910 ไร่ มีประชากร 1.74 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมืองราว 960,000 คน โดยเขตเมืองจังหวัดเชียงใหม่จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทยรองจากกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 83 ของจังหวัด เป็นภูเขาและที่ราบเชิงเขา อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.8 องศาเซลเซียส โดยทางทิศเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ 

จังหวัดเชียงใหม่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 221,218 ล้านบาท  สาขาการผลิตที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง มีสัดส่วนร้อยละ 22.0 รองลงมาได้แก่ สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สัดส่วนร้อยละ 15.6 สาขาค้าส่งค้าปลีก สัดส่วนร้อยละ 11.9 สาขาการผลิตอุตสาหกรรม สัดส่วนร้อยละ 7.7 สาขาก่อสร้าง สัดส่วนร้อยละ 5.0 และสาขาอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 37.8
 
ภาพรวมเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปีก่อน โดยภาคเศรษฐกิจที่ชะลอลง คือภาคการเกษตร ส่วนภาคเศรษฐกิจที่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ คือภาคบริการ ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ลดลงจากร้อยละ 0.9 ในปีก่อน จากแนวโน้มระดับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลง
 
 
ภาพที่ 1 สัดส่วนโครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่
 
2. โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหาร
 
• ด้านการเกษตรและวัตถุดิบ
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ทำการเกษตร 1.83 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.6 ของพื้นที่รวมทั้งหมด 
มีครัวเรือภาคการเกษตร 169,932 ครัวเรือน โดยอำเภอที่มีพื้นที่ทางการเกษตรมากที่สุด คือ อำเภอฝาง จำนวน 210,000 ไร่ และอำเภอที่มีครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุด คือ อำเภอแม่แจ่ม จำนวน 12,971 ครัวเรือน 
พื้นที่ทำการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น สวนผัก ไม้ดอก สวนไม้ประดับ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่น ๆ โดยพื้นที่สวนไม้ผลและไม้ยืนต้นมีการใช้พื้นที่สูงที่สุด สัดส่วนร้อยละ 31.5 รองลงมา ได้แก่ ข้าว ร้อยละ 23.4 พืชไร่ ร้อยละ 10.1 พืชผัก ร้อยละ 6.3% และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่น ๆ อีกร้อยละ 28.6% ทั้งนี้ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์พืช ได้แก่ ข้าว ลำไย ลิ้นจี่ หอมแดง หอมใหญ่ กระเทียม ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ได้แก่ โคนม โคเนื้อ สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ และผลิตภัณฑ์ประมง ได้แก่ ปลานิล

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527