จากปัญหาอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดความตระหนักทางสภาวะสมดุลของทรัพยากรน้ำโลกและสภาวะการขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นตามมาประเทศจีนนับเป็นเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มีจำนวนประชากรสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกและยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ความต้องการน้ำจืดในประเทศจีนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่การเพาะปลูกเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่งผลต่อความต้องการในการดำเนินชีวิตโดยตรง ทั้งความมั่นคงทางด้านอาหาร และการจำกัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม (Ma, J., และคณะ, 2003)
ภาพที่ 1 พื้นที่แห้งแล้งขาดแคลนน้ำในประเทศจีน
แหล่งที่มา : www.jonbowermaster.com, 2014
จากรายงานของสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ของประเทศไทย (ISO, 2554) กล่าวว่า จีนได้เผชิญวิกฤติขาดน้ำสะอาด โดยชาวชนบทของจีนกว่า 320 ล้านคน กำลังเผชิญปัญหาไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด อีกกว่า 190 ล้านคนใช้น้ำดื่มที่ปนเปื้อนสารพิษเกินมาตรฐาน และผลการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2550 ระบุว่าร้อยละ 30 ของเมืองมีมลภาวะทางอากาศที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน ขณะที่พื้นที่การเกษตร 10 ล้านเฮกตาร์ ปนเปื้อนสารพิษ มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการตายเนื่องจากโรคเนื้องอกในระบบทางเดินอาหารซึ่งมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ โดยระบุว่าน้ำดื่มที่ปนเปื้อนและมลพิษจากดินอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งในหลายพื้นที่ นอกจากนี้รูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากการบริโภคแต่เพียงพืชผลทางการเกษตรหันมาบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้น (ตารางที่1) ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณการใช้น้ำเพราะอุตสาหกรรมอาหารทาง ปศุสัตว์มีอัตราส่วนการใช้น้ำต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์มากกว่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรส่งผลให้ประเทศจีนมีการใช้ทรัพยากรน้ำที่สูงขึ้นอย่างอัตราก้าวกระโดด
จากกรณีศึกษาร่องรอยการใช้น้ำหรือวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ในประเทศจีนช่วงปี ค.ศ.1997 ถึง ค.ศ.2001 ของ Hoekstra และ Chapagain (2003) ประเทศจีนมีปริมาณการใช้น้ำต่อหัวประชากรอยู่ที่ 700 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีเพียง ร้อยละ 7 เท่านั้นที่เป็นการใช้น้ำจากนอกประเทศ แสดงให้เห็นว่าจีนยังคงมีระดับการใช้น้ำภายในประเทศที่ค่อนข้างสูงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของจีนเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งของการใช้น้ำในภาคเหนือประมาณร้อยละ 10 จะใช้เพื่อเพาะปลูกทางการเกษตรและปศุสัตว์ผลิตเป็นอาหารส่งออกไปทางภาคใต้ของจีน (แสดงดังภาพที่2 ) แบ่งเป็นผลผลิตเกษตรทางธัญพืชร้อยละ 53 ของทั้งประเทศ ผักร้อยละ 57 ผลไม้ร้อยละ 55 เนื้อสัตว์ร้อยละ 48 ไข่ร้อยละ 71 และผลิตภัณฑ์จากนมร้อยละ 82 แต่เดิมทางภาคใต้ของจีนเคยเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ที่สำคัญของประเทศ แต่หลังจากปี ค.ศ.1990 เกิดการปฏิรูปนโยบายรวมถึงประชากรมีความหนาแน่นและร่ำรวยขึ้น จากภาคเกษตรกรรมถูกแปรเปลี่ยนเป็นภาคอุตสาหกรรม มาตรฐานการครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นความต้องการในการบริโภคก็เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปกลับกลายมาเป็นผู้บริโภคเป็นหลัก หน่วยผลิตจึงย้ายไปอยู่ช่วงภาคเหนือของจีนแต่พื้นที่ภาคเหนือมีทรัพยากรน้ำไม่เพียงพอต่อกำลังการผลิต
ภาพที่ 2 ปริมาณน้ำเสมือนนำเข้า (virtual water import) และ
ปริมาณน้ำเสมือนส่งออก (virtual water export) ของภาคเหนือและภาคใต้ ประเทศจีน (109 m3)
แหล่งที่มา : Chapagain, A. K. และ Hoekstra, A. Y., 2003
ต่อมา ในปี ค.ศ.2003 Liu, J. และ Savenije, H. H. G.(2008) ได้ศึกษาปริมาณการใช้น้ำต่อหัวประชากรเพื่อการผลิตอาหารของประเทศจีน (capita water requirement for food: CWRF) ซึ่งมีค่ามากถึง 860 ลูกบาศก์เมตรต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี ค.ศ.1961 คิดเป็น 605 ลูกบาศก์เมตรต่อปี (แสดงดังภาพที่3) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สูงขึ้นถึงมากกว่าร้อยละ 200 ของปี ค.ศ. 1961 โดยปริมาณน้ำที่ต้องการเพื่อผลิตอาหารทั้งหมด (the total water requirement for food: TWRF) อยู่ที่ 1.127 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี การศึกษานี้ยังได้คาดการณ์ถึงปริมาณน้ำเพื่อการผลิตอาหารในปี ค.ศ.20303 กรณี ได้แก่ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับสูง โดยมีค่าระดับการใช้น้ำอยู่ระหว่าง 0.407 – 0.515 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำต้องการเพื่อผลิตอาการทั้งหมด (the total water requirement for food: TWRF) ไม่ต้องสงสัยเลยว่าประเทศจีนอาจจะต้องพบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคต หากอัตราการใช้น้ำยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอัตราการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวของประเทศจีนจะต่ำกว่าอัตราการใช้น้ำในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นต้น ก็ตาม แสดงดังภาพที่4
ภาพที่ 3 แนวโน้มปริมาณการใช้น้ำในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศจีนปี ค.ศ.1961 ถึง ค.ศ.2003
แหล่งที่มา : Liu, J. และ Savenije, H. H. G., 2008
ตารางที่ 1 รูปแบบการบริโภคของประเทศจีน
แหล่งที่มา : FAO, 2006
ภาพที่ 4 แนวโน้มปริมาณการใช้น้ำในอุตสาหกรรมของโลก
แหล่งที่มา : Liu, J. และ Savenije, H. H. G., 2008
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างการศึกษาในอีกหลายพื้นที่ของประเทศจีนที่ให้ข้อมูลสนับสนุนถึงภาวะการขาดแคลนทรัพยากรน้ำอย่างการศึกษาของ Huang, J., และคณะ (2014) ในกรุงปักกิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าอัตราการใช้น้ำต่อคนมีปริมาณการใช้น้ำลดลงอยู่ที่ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐานความต้องการการใช้น้ำถึง 8เท่าและตัวอย่างการศึกษาค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ที่แสดงเห็นถึงความตื่นตัวตื่นตัวในการวางแผนการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ อาทิเช่น การศึกษาค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์จาก 33 เขตในกรุงปักกิ่ง ในปี ค.ศ.2002 (แสดงดังตารางที่ 2) มีค่าเท่ากับ 4,498.4 ลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยแบ่งเป็นวอเตอร์ฟุตพริ้นท์นำเข้า (internal water footprint) 2,219.3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ส่งออก (external water footprint) 2,279.2 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 51 ของวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ทั้งหมดของกรุงปักกิ่ง (Zeng, Z. และคณะ, 2011) และในปี ค.ศ.2011 Liqiang และคณะ ยังได้ศึกษาค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของประเทศจีนในแต่ละพื้นที่ ปี ค.ศ.2007 แสดงดังตารางที่ 3 และภาพที่ 3 ไม่นับรวมเขตปกครองพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านการเข้าถึงข้อมูล (Liqiang, G. และคณะ, 2011) ซึ่งพบว่าภาวะการขาดแคลนน้ำ (Water shortage degree) ใน 9 พื้นที่ทางเหนือของประเทศจีน ได้แก่ Tianjin, Beijing, Shangha,i Ningxia, Hebei, Shanxi, Shandong, Jiangsu และ Liaoning อยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 100 สำหรับค่าเฉลี่ยของวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ต่อหัวประชากรประเทศจีนในปี ค.ศ.2007 อยู่ 648.11 ลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยมี 14 พื้นที่ที่มีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ต่อหัวประชากรสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้แก่ Xinjiang, Shanghai, Guangdong, Jiangxi, Beijing, Jiangsu, Hubei, Tianjin, Fujian, Tibet, Guangxi, Heilongjiang, Hunan และ Anhui ซึ่งเขตพื้นที่ Xinjiang และ Shanghai มีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์มากกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี อยู่ที่ 1,395.08 และ 1,004.63 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ตามลำดับ
สำหรับการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศจีน Zhang (2003) ได้ประเมิน วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าวโพด 1 กิโลกรัม มีค่าเท่ากับ 0.84 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม และพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์มีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์เท่ากับ 0.5 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์เนื้อหมูเท่ากับ 4.46 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม ซึ่งมีค่าเกือบสองเท่าของ Chapagain และ Hoekstra (2004) ที่ได้ทำประเมินวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของเนื้อหมูเท่ากับ 2.21 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับการศึกษาอัตราการใช้น้ำของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหาร บริเวณลุ่มน้ำ Heihe ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน โดยพื้นที่ดังกล่าวมีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ 1,768 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งถูกใช้ในอุตสาหกรรมทางการเกษตรถึงร้อยละ 96 แบ่งเป็นภาคเกษตรกรรม (crop production) ร้อยละ 92 ภาคปศุสัตว์ (livestock production) ร้อยละ4 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 4 แสดงดังภาพที่ 6 และศึกษาค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์จากภาคเกษตรกรรมและภาคปศุสัตว์ ดังตารางที่ 4 เมื่อพิจารณาค่าน้ำสีฟ้าของการใช้น้ำบริเวณลุ่มน้ำ Heihe พบว่ามีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก เนื่องจากการพึ่งพาการชลประทานในกระบวนการผลิตมีสัดส่วนสูงแต่อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำสีฟ้ายังคงสัดส่วนต่ำกว่าน้ำสีเขียว ทั้งนี้การศึกษาดังกล่าวได้มุ่งเน้นการศึกษาในลุ่มน้ำเพื่อนำไปพัฒนารูปแบบการใช้น้ำที่ยั่งยืนและลดปริมาณการใช้น้ำที่จะส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำในระยะยาวต่อไป (Zeng, Z. และคณะ, 2012)
ตารางที่ 2 ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์แยกรายสาขาอุตสาหกรรมของกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปี ค.ศ.2002
แหล่งที่มา : Zeng, Z. และคณะ, 2012
ตารางที่ 3 ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์แต่ละพื้นที่ของประเทศจีน ปี ค.ศ.2007
แหล่งที่มา : Liqiang, G. และคณะ, 2011
ภาพที่ 5 ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของแต่ละพื้นที่ในประเทศจีนต่อประชากร 1 คนต่อปี ปี ค.ศ.2007
(สีเขียว หมายถึงพื้นที่ที่มีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์เท่ากับค่าเฉลี่ยของประเทศ,
สีแดง หมายถึงพื้นที่ที่มีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์มากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ)
แหล่งที่มา : Liqiang, G. และคณะ., 2011
ภาพที่ 6 สัดส่วนการใช้น้ำในลุ่มน้ำ Heihe ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน
แหล่งที่มา : Zeng, Z. และคณะ, 2012
ตารางที่ 4 ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์แต่ละพื้นที่ของประเทศจีน ปี ค.ศ.2007
แหล่งที่มา : Zeng, Z. และคณะ, 2012