สำหรับการจัดทำ LCA 1 สินค้า เลือกพิจารณา กลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน เนื่องจากปัจจุบันข้าวโพดหวานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญของประเทศ โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกติดอันดับ 3 ของโลกรองจากฝรั่งเศสและฮังการี มีตลาดหลักอยู่ที่สหภาพยุโรป รองลงไปคือ ญี่ปุ่น รัสเซีย และอาเซียน ตามลำดับ แม้ว่าศักยภาพอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยจะอยู่ในระดับสูง แต่การจะก้าวเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกข้าวโพดหวานแปรรูปของโลกนั้น มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางการค้าอันหลากหลายจากประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การประเมินวัฏจักรชีวิต หรือ LCA ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งทีช่วยประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเป็นข้อมูลสนับสนุน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่อไป
ทั้งนี้ การประเมินประเมินวัฏจักรชีวิต หรือ LCA ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน พิจารณากลุ่มผลกระทบ 3 ด้าน ได้แก้ ร่องรอยการใช้น้ำ (Water Footprint) ภาวะโลกร้อน (Global Warming) และร่องรอยการใช้พลังงาน (Energy Footprint) ด้วยซอร์ฟแวร์ SimaPro 7.3 ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับการประเมิน LCA ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ด้วยวิธี IPCC 2007 สำหรับผลกระทบด้านภาวะโลกร้อน (Global Warming) วิธี Eco-indicator 95 สำหรับผละกระทบร่องรอยการใช้พลังงาน (Energy Footprint) และ ReCipe สำหรับผลกระทบทางด้านร่องรอยการใช้น้ำ (Water Footprint)