กระทรวงพลังงานได้พยากรณ์ความต้องการพลังงานในอนาคตของประเทศไทยโดยคาดการณ์ว่าในปี 2564 ปริมาณความต้องการพลังงานจะเพิ่มมากขึ้นโดยกำหนดให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 ของการใช้พลังงานทั้งหมดซึ่งภาครัฐได้มุ่งเน้นและให้การสนับสนุนพัฒนาทั้งด้านอุปทานและอุปสงค์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานทดแทนในภาคขนส่งอย่างไบโอดีเซลที่สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบภายในประเทศ คือ ปาล์มน้ำมันซึ่งมีการส่งเสริมการปลูกปาล์มให้มากขึ้นเพื่อให้ได้สัดส่วนกำลังการผลิต 18.5% โดยข้อดีเป็นการส่งเสริมพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นหนึ่งในพลังงานหลักทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดการนำเข้าน้ำมันได้อย่างยั่งยืนในทางกลับกันก็ส่งผลต่อความต้องการการใช้น้ำและการเกิดมลภาวะ อันเนื่องมาจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในช่วงการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นโดยส่งผลกระทบโดยตรงต่อทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำของปาล์มน้ำมันสำหรับผลิตไบโอดีเซลโดยอาศัยแนวคิด Water Footprint ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการวิเคราะห์และบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตของปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ทั้งหมด16 จังหวัด (ปีพ.ศ.2550–2554) ซึ่งมีความแตกต่างตามสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่จากผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ย Water footprint ของปาล์มสำหรับผลิตไบโอดีเซลมีค่าเท่ากับ 2,139 ลูกบาศก์เมตรต่อตันส่วนใหญ่เกิดจากปริมาณการใช้น้ำจากการระเหยของน้ำฝน 50% และเมื่อพิจารณาปริมาณการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่พบว่าในเขตพื้นที่ภาคเหนือมีปริมาณการใช้น้ำสูงถึง 3.9 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ภาคใต้โดยจังหวัดที่ใช้น้ำมากที่สุด คือ พิษณุโลกมีค่าเท่ากับ 6,098 ลูกบาศก์เมตรต่อตันและจังหวัดที่มีการใช้น้ำน้อยที่สุดคือ สุราษฏร์ธานี มีค่าท่ากับ 1,070 ลูกบาศก์เมตรต่อตันดังนั้นแนวทางการลดปริมาณการใช้น้ำที่เกิดขึ้นจึงควรมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยและการพัฒนาระบบน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนในอนาคต

 

 

WF Knowledge

www.industry.go.th กระทรวงอุตสาหกรรม
www.oie.go.th สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
http://fic.nfi.or.th ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสถาบันอาหาร
http://www.nfi.or.th/carbonfootprint/ โครงการ Carbon Footprint
http://www.greenindustry.go.th/
NFI-QR-CODE