บริษัท โคคา โคล่า จำกัด (Coca Cola)
บริษัทโคคาโคล่า จำกัด ในกลุ่มประเทศยุโรปให้ความสำคัญกับการจัดทำค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้กำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในกระบวนการผลิต คือ การบำบัดน้ำเสียทั้งหมดในระบบการผลิต โดยพบว่าในปี ค.ศ. 2012 บริษัทฯ สามารถดำเนินการบำบัดน้ำเสียในกระบวนการผลิตได้ร้อยละ 98 นอกจากนี้ ได้ตั้งเป้าหมายการลดปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการผลิตร้อยละ 25 ภายในปี ค.ศ.2020 (เปรียบเทียบจากปีฐาน ค.ศ.2010) โดยในปี ค.ศ. 2012 บริษัทฯ สามารถดำเนินการผลิตเครื่องดื่มโค้กโดยใช้น้ำในกระบวนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 2.12 ลิตรต่อโค้ก 1 ลิตร ลดลงร้อยละ 2.3 จากปี ค.ศ.2011 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.17 ลิตรต่อโค้ก 1 ลิตรและมุ่งให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้กับทุกภาคส่วน
ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฯ เลือกศึกษาคือ เครื่องดื่มโค้กบรรจุขวดพลาสติก ขนาด 500 มิลลิลิตร 1 ขวด ซึ่งมีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์เท่ากับ 35 ลิตรต่อขวด โดยมาจากการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การบรรจุ และการผลิต คิดเป็นร้อยละ 80 ร้อยละ 19 และร้อยละ 1 ตามลำดับ แบ่งเป็นน้ำสีเขียว 15.5 ลิตร น้ำสีฟ้า 8.7 ลิตร และน้ำสีเทา 11.4 ลิตร แสดงดังภาพที่ 1 (Ulrike Sapiro, 2011)
ภาพที่ 1 วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์คือ เครื่องดื่มโค้กบรรจุขวดพลาสติก ขนาด 500 มิลลิลิตร
แหล่งที่มา : Ulrike Sapiro, 2011
บริษัท บลาซเซิล จำกัด (Brazzle)
บริษัท บลาซเซิล จำกัด (Brazzle) ได้จัดทำวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ชีสจากประเทศเช็ก ในชื่อยื่ห้อ “Gran Moravia” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชีสยี่ห้อแรกที่มีการจัดทำวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์ Gran Moravia 1 กิโลกรัมมีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์เท่ากับ 2.067 ลิตร แบ่งเป็นน้ำสีเขียว 1.920 ลิตร น้ำสีฟ้า 0.087 ลิตร และน้ำสีเทา 0.062 ลิตร แสดงดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ Gran Moravia
แหล่งที่มา : http://www.brazzale.com. 2014
ผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในสหรัฐอเมริกา มีการระบุค่าน้ำเสมือนที่ใช้จริงของผลิตภัณฑ์ (Virtual water) คู่กับ ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint) สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตรเพื่อให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสรับทราบถึงข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม และใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบในการเลือกซื้อสินค้า ตัวอย่างของการแสดงฉลาก แสดงดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 การแสดงค่าเสมือนที่ใช้จริงคู่กับค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์
ผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา
แหล่งที่มา : http://measureyourchoices.com/wheretofind.html, 2014
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
The Beverage Industry Environmental Roundtable หรือ BIER เป็นพันธมิตรทางเทคนิคของบริษัทชั้นนำ สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มระดับโลกที่ทำงานร่วมกันเพื่อความก้าวหน้าและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีการจัดทำคู่มือสำหรับการประเมินวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ภายใต้ฉบับร่างมาตรฐาน ISO 14046 มีนาคม 2010 เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มให้กับบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม
ภาพที่ 4 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
แหล่งที่มา : Beverage Industry Environmental Roundtable, 2011
คู่มือสำหรับการประเมินวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ได้กล่าวถึงคำนิยามของวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ การกำหนดขอบเขตของการศึกษา (ภาพที่5) รวมถึงวิธีการศึกษา พร้อมตัวอย่างการคำนวณอย่างง่าย อีกทั้งยังประเมินค่าการใช้น้ำของบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระป๋องโลหะ ขวดแก้ว และขวดพลาสติก ดังภาพที่ 6 เพื่อสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมในกับบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ภาพที่ 5 ขอบเขตการประเมินวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
แหล่งที่มา : Beverage Industry Environmental Roundtable, 2011
ภาพที่ 6 ปริมาณการใช้น้ำและน้ำเสียของบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
แหล่งที่มา : Beverage Industry Environmental Roundtable, 2011
บริษัท Raisio จำกัด
บริษัทอาหาร Raisio ของประเทศฟินแลนด์ได้จัดทำฉลากวอเตอร์ของผลิตภัณฑ์ “Elovena Oat Flake” (ภาพที่ 7) เป็นรายแรกของโลก โดยผลิตภํณฑ์ดังกล่าวมีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ เท่ากับ 101 ลิตรต่อ 100 กรัมผลิตภัณฑ์ โดยมาจากกระบวนการปลูกพืช กระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์ เท่ากับร้อยละ 99.3 ร้อยละ 0.57 และร้อยละ 0.16 ตามลำดับ
ภาพที่ 7 ผลิตภัณฑ์ “Elovena Oat Flake” และฉลากวอเตอร์ฟุตพริ้นท์
แหล่งที่มา : Kulawal Supesuntorn, 2012
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
รัฐบาลของประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย ได้ร่วมกันจัดทำฉลาก Water rating เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและให้ผู้บริโภคทราบถึงปริมาณการใช้น้ำในการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการรักษาทรัพยากรน้ำกับผู้บริโภค รวมถึงผู้ขายด้วย โดยได้จัดตั้งโครงการภายใต้ชื่อ “The New Zealand Water Efficiency Labeling Scheme (WELS)” ฉลากแสดงดังภาพที่ 8 ซึ่งใช้กับผลิตภัณฑ์ 6 ประเภทที่ใช้น้ำ ได้แก่ เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน ชักโครก อ่างอาบน้ำ ก๊อกน้ำ และโถปัสสะวะชาย (Ministry for the Environment, 2010)
ภาพที่ 8 ฉลาก Water rating
แหล่งที่มา : Ministry for the Environment, 2010
บริษัท Dole Food
บริษัท Dole Food ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลไม้กระป๋องรายใหญ่รายหนึ่งและมีชื่อเสียงของโลกได้ร่วมกับ Water Footprint Network ในการประเมินวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของสับปะรดและกล้วยของฟาร์มในประเทศคอสตาริกาและฮอนดูลัส พิจารณาตั้งแต่การปลูกและการบรรจุ เนื่องจากในสองพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่บริษัทเป็นผู้ผลิตกล้วยและสับปะรดรายใหญ่ที่สุด โดยผลการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของสับปะรดและกล้วยแสดงดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ตามลำดับ (Sikirica, N., 2011)
ตารางที่ 1 วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของขั้นตอนการปลูกและการบรรจุสับปะรด ของบริษัท Dole Food
แหล่งที่มา : Sikirica, N., 2011
ตารางที่ 2 วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของขั้นตอนการปลูกและการบรรจุกล้วย ของบริษัท Dole Food
แหล่งที่มา : Sikirica, N., 2011
บริษัท PepsiCo
เช่นเดียวกันกับบริษัทผลิตเครื่องดื่มหลายๆ บริษัท บริษัท PepsiCO ได้ตั้งเป้าหมายในลดการใช้น้ำในการผลิตเครื่องดื่ม Pepsi ในประเทศอินเดีย โดยจับมือกับ Water Footprint Network ในการดำเนินการ ซึ่งในปี ค.ศ.2010 บริษัทฯ สามารถลดการใช้น้ำได้มากถึงร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับการผลิตเมื่อปี ค.ศ.2006 ดังภาพที่ 9 (PepsiCo, 2010)
ภาพที่ 9 ผลิตภัณฑ์ “Pepsi” ประเทศอินเดีย
แหล่งที่มา : PepsiCo, 2010
บริษัท Nestle จำกัด
ในปี 2008 บริษัท Nestle จำกัด สหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มชั้นนำของโลก ได้ให้ความสนใจกับการจัดทำวอเตอรุ์ตพริ้นท์ โดยจัดตั้งโครงการนำร่องในการประเมินวอเตอรุ์ตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์อาหารจากธัญพืช “Bitesize shredded wheat” ที่ผลิตจากโรงงานในเมือง Staverton ประเทศอังกฤษ และได้มอบหมายให้กับ Water Footprint Working group (WFWG) ของมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ ผลการศึกษาได้แล้วเสร็จในปี 2009 และเผยแพร่ข้อมูลในปี 2010 ซึ่งวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ได้ประเมินตั้งแต่การปลูกพืชจนกระทั่งการจัดการซากผลิตภัณฑ์ ทำให้ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ “Bitesize shredded wheat” ตลอดวัฏจักรชีวิตมีค่าเท่ากับ 1,875.876 ลูกบาศก์เมตรต่อตันผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น น้ำสีเขียว 1,678 ลูกบาศก์เมตร น้ำสีฟ้า 1.861 ลูกบาศก์เมตร และน้ำสีเทา 196.015 ลูกบาศก์เมตร แสดงดังภาพที่ 10 (Chapagain, A.K. และ Orr, S.,2010)
ภาพที่ 10 วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ “Bitesize shredded wheat”
แหล่งที่มา : Chapagain,