ตลาดน้ำผลไม้ในประเทศไทยปี 2567 มีมูลค่า 21,890 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตามความต้องการบริโภคเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพซึ่งยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางกระแสการตื่นตัวด้านสุขภาพของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงสร้างตลาด น้ำผลไม้อย่างมีนัยสำคัญคือ คือ นโยบายภาษีน้ำตาล ซึ่งบังคับใช้กับเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะน้ำผลไม้และน้ำผสมน้ำผลไม้ (nectar) ที่มีน้ำตาลสูง มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนำไปสู่การปรับราคาขายที่สูงขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูงลดลงอย่างชัดเจน เพื่อลดผลกระทบจากต้นทุนและข้อกำหนดทางกฎหมาย ผู้ผลิตหลายรายจึงปรับเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์ให้มีปริมาณน้ำตาลน้อยลง หรือพัฒนาเครื่องดื่มสูตรใหม่ที่ไม่มีการเติมน้ำตาล เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เช่น น้ำผลไม้ที่ไม่มีน้ำตาลเติมแต่ง นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังเน้นการพัฒนานวัตกรรมทั้งด้านผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างและขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ตลาดเครื่องดื่มกาแฟในประเทศไทยปี 2567 มีมูลค่า 36,034 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มผู้บริโภคทุกช่วงวัย ทั้งในรูปแบบกาแฟสด กาแฟสำเร็จรูป และกาแฟพร้อมดื่ม กาแฟได้กลายเป็นเครื่องดื่มประจำวันของผู้บริโภคจำนวนมาก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปตามไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญกับความสะดวก รวดเร็ว และความหลากหลายของทางเลือก ประกอบกับการขยายตัวของช่องทางจำหน่ายที่ครอบคลุม ทั้งร้านสะดวกซื้อ สถานีบริการน้ำมัน ร้านกาแฟ และช่องทางออนไลน์ ทำให้กาแฟยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีบทบาทสำคัญในตลาดเครื่องดื่มของไทย
ตลาดขนมหวานจากน้ำตาล ปี 2567 มีมูลค่า 15,720 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากปีก่อนหน้า ตลาดขนมหวานจากน้ำตาลเป็นหนึ่งในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความต้องการต่อเนื่อง ด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เช่น ลูกกวาดชนิดอม เยลลี่ กัมมี่ และขนมเคี้ยวหนึบที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้บริโภคที่บริโภคเพื่อความเพลิดเพลิน อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดขนมหวานจากน้ำตาลได้มี การเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ท่ามกลางกระแสความตื่นตัวด้านสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับโภชนาการและสุขภาพมากขึ้น รวมถึงหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูงและสารปรุงแต่งต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ผลิตจึงได้พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เน้นการลดปริมาณน้ำตาล เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลให้ตลาดขนมหวานจากน้ำตาลยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะที่ผู้บริโภคมีความระมัดระวังมากขึ้น
ตลาดนมพร้อมดื่ม ปี 2567 มีมูลค่า 34,993 ล้านบาท โดยมี เมจิ โฟร์โมสต์ ไทย-เดนมาร์ค และตราหมี เป็นเจ้าตลาด
ตลาดน้ำผลไม้ ปี 2567 มีมูลค่า 21,890 ล้านบาท เติบโต 6.9% โดยมี minute maid , deedo , C-Vitt , ดอยคำ , ทิปโก้ , มาลี และยูนีฟ เป็นเจ้าตลาด
1.ภาพรวมตลาด ตลาดซอสเผ็ดในสหรัฐอเมริกาเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยขับเคลื่อนจากความนิยมในอาหารรสจัด ความหลากหลายของผู้บริโภค และกระแสวัฒนธรรมอาหารระดับโลก โดยเฉพาะจากละตินอเมริกาและเอเชีย รายงานของ MarkWide Research ระบุว่า มูลค่าตลาดซอสเผ็ดในสหรัฐฯ ในปี 2024 อยู่ที่ประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 6.5% ต่อปี ไปจนถึงปี 2032 • Gen Z และ Millennials เป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก โดยเฉพาะ Gen Z ที่มีแนวโน้ม “นำซอสเผ็ดติดตัว” ไปยังร้านอาหาร และเข้าร่วมชาเลนจ์ซอสเผ็ดบนโซเชียลมีเดีย • ความสนใจใน “swicy” หรืออาหารหวานผสมเผ็ด เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการค้นหาคำว่า “swicy” เพิ่มขึ้น 1,700% ระหว่างมีนาคม 2023–2024 • พฤติกรรมผู้บริโภคมีความหลากหลาย โดย 93% ของชาวอเมริกันกินซอสเผ็ด แต่ระดับความเผ็ดที่ทนได้แตกต่างกัน
ตลาดโลกของผำ: ขยายตัวรวดเร็วและเริ่มได้รับการยอมรับทางกฎหมาย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผำ หรือ Wolffia ได้กลายเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบทางเลือกที่ทั่วโลกเริ่มจับตามอง โดยเฉพาะในฐานะแหล่งโปรตีนจากพืชที่มีความยั่งยืนและประหยัดทรัพยากร จากข้อมูลการประเมินมูลค่าตลาด พบว่าตลาดโปรตีนจากผำทั่วโลกในช่วงปี 2024–2026 มีมูลค่าราว 72.7–88.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 7–9% ไปจนถึงปี 2034
ภาพรวมตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยในการนอนหลับและบรรเทาความเครียดในญี่ปุ่น ตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับและบรรเทาความเครียดกำลังเติบโตอย่างมากในญี่ปุ่น เนื่องจากมีจำนวนคนที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตและร่างกายเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากข้อมูลของบริษัทวิจัย Fuji Keizai Co. ตลาดอาหารที่ช่วยลดความเครียดและปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ เติบโต 1.5 เท่าจากปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่า 36.5 พันล้านเยนในปี 2564 ซึ่งคิดเป็นประมาณ 8,760 ล้านบาทไทย และคาดว่าจะขยายตัวมากขึ้นต่อเนื่อง ตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณสมบัติช่วยการนอนและลดความเครียด (Functional food & drink – stress/sleep category) ในญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ ¥1.065 ล้านล้านเยน (ราว ±300,000 ล้านบาท) ในปี 2024 โดยโตเพิ่มขึ้นกว่า 18% จากปีก่อน ขณะที่ตลาดฟังก์ชันเกี่ยวกับสมองและจิตใจ (mind & mood, brain health) มีมูลค่าถึง USD 687 ล้าน (≈2.5 หมื่นล้านบาท) ในปี 2022 และคาดว่าจะโตเป็น USD 1.44 พันล้าน (≈5.2 หมื่นล้านบาท) ภายในปี 2030 ด้วยอัตรา (CAGR) 9.7%
การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 1/2566 มีมูลค่า 431 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 2.4 จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หลังจากที่หลายประเทศมีการเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ ประกอบกับความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาล และอานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต อาทิ ต้นทุนการผลิต ราคาพลังงาน ราคาอาหารสัตว์ และค่าขนส่ง
การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 4/2565 ประมาณการว่ามีมูลค่า 433 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 8.3 จากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อน จากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากหลายประเทศเร่งกระตุ้นให้ประชาชนออกมาเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ พร้อมทั้งผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในประเทศของตน ประกอบกับความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาล และอานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้น
ภาพรวมตลาดอาหารโลก การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 3/2565 มีมูลค่า 419 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอตัวจากร้อยละ 8.8 ในไตรมาสก่อน ราคาสินค้าเกษตรอาหารทั่วโลกอ่อนตัวลงจากช่วงกลางปี หลังอุปทานสินค้าเกษตรอาหารปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงกดดันตลาด ด้านตลาดในประเทศพบว่า ในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มียอดค้าปลีกอาหารและบริการธุรกิจเกี่ยวเนื่องยังคงอ่อนแอ
- ปริมาณและมูลค่าตลาดไอศกรีม (Ice Cream) ของมาเลเซีย (ปี 2560 – 2565) มูลค่า ปี 2565 9,001.3 ล้านบาท - คาดการณ์ปริมาณและมูลค่าตลาดไอศกรีม (Ice Cream) ของมาเลเซีย (ปี 2565 – 2570) คาดการณ์มูลค่า ปี 2566 9,241.5 ล้านบาท
- ปริมาณและมูลค่าตลาดนมจากพืช (Plant-Based Milk) ของจีน (ปี 2561 – 2565) มูลค่า ปี 2565 194,835.6 ล้านบาท - คาดการณ์ปริมาณและมูลค่าตลาดนมจากพืช (Plant-Based Milk) ของจีน (ปี 2566 – 2570) คาดการณ์มูลค่า ปี 2566 200,610 ล้านบาท
- ปริมาณและมูลค่าตลาดเนยและสเปรด (Butter and Spreads) ของไต้หวัน (ปี 2561 – 2565) มูลค่า ปี 2565 2,867.2 ล้านบาท* - คาดการณ์ปริมาณและมูลค่าตลาดเนยและสเปรด (Butter and Spreads) ของไต้หวัน (ปี 2566 – 2570) คาดการณ์มูลค่า ปี 2566 2,917.0 ล้านบาท*