อุตสาหกรรมนม สถานการณ์ตลาดนมพร้อมดื่มไทย
มิถุนายน 2557
การบริโภค
ปริมาณการบริโภคนมของคนไทยอยู่ในอัตราค่อนข้างต่ำ โดยย้อนหลังช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่าน มา ในปี 2546 การบริโภคนมมีการปรับเพิ่มการบริโภคจาก 10.46 ลิตรต่อคนต่อปี ในขณะที่ปริมาณการ บริโภคนมในปี 2556 อยู่ที่ 14.19 ลิตรต่อคนต่อปีเท่านั้น เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 3.73 ลิตรต่อคน ต่อปี ทั้งนี้ การขยายตัวของการบริโภคนั้นส่วนใหญ่เป็นผลเนื่องมาจากโครงการนมโรงเรียนเป็นหลัก ซึ่ง เมื่อปี 2552 มีการขยายกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการจาก ป. 4 เป็น ป.6 และเพิ่มจํานวนวันบริโภคจาก 230 วัน เป็น 260 วัน เพราะคนไทยมีทัศนคติต่อการบริโภคนมพร้อมดื่มว่าเป็นเครื่องดื่มสําหรับเด็ก คนป่วย หรือ ผู้สูงอายุ อีกทั้งมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในตลาดให้เลือกอีกมากมาย และการแข่งขันทางการตลาดจากเครื่องดื่ม ประเภทอื่นๆ ค่อนข้างรุนแรง
ตลาดนมโรงเรียน
เป็นโครงการของรัฐบาลที่ได้ริเริ่ม “โครงการนมโรงเรียน” ขึ้นจากวัตถุประสงค์ต้องการช่วยเหลือ เกษตรกรในการแก้ปัญหาน้ำนมดิบที่ผลิตได้ในประเทศจากปัญหาราคาตกต่ำ, ปัญหาไม่มีตลาดรองรับ หรือ ล้นตลาดจากการปฏิเสธการรับซื้อจากโรงงาน ที่หันไปใช้นมผงนําเข้าจากต่างประเทศเป็นวัตถุดิบหลักใน การผลิต และอีกวัตถุประสงค์หนึ่งของโครงการคือการส่งเสริมให้นมเป็นอาหารเสริมสําหรับนักเรียน เพื่อ เป็นรากฐานด้านสุขภาพที่ดีให้กับเยาวชนของไทย โดยโครงการนมโรงเรียน ถือเป็นตลาดหลักในการรองรับ น้ำนมดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศ ปริมาณ 1,300 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วนระหว่างร้อยละ 40-45 ของ ปริมาณที่ผลิตได้ 2,900-3,200 ตันต่อวัน โดยตั้งแต่ปีที่เริ่มต้นโครงการนมโรงเรียน มีการปรับเพิ่ม กลุ่มเป้าหมาย และขยายระยะเวลาในการบริโภคมากขึ้น แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้
ในช่วง 10 ปีแรกของโครงการ จากปี 2535 ที่เริ่มโครงการ เริ่มต้นจากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ นักเรียนชั้นอนุบาล ดื่ม 120 วัน งบประมาณ 279 ล้านบาท จนกระทั่งปี 2544 กลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น นักเรียนชั้นอนุบาล ถึง ประถมศึกษาปีที่ 4 ดื่ม 200 วัน งบประมาณ 6,070 ล้านบาท
ช่วงที่สอง กลุ่มเป้าหมายยังคงเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่ปรับเพิ่มวันดื่ม จาก 200 วัน ด้วยงบประมาณ 6,752 ล้านบาท ใน ปี 2545 ปรับเพิ่มวันดื่มเป็น 230 วัน ด้วยงบประมาณ 8,437 ล้านบาท ในปี 2551
ช่วงที่สาม ปี 2552 – 2556 ปรับเพิ่มกลุ่มเป้าหมายจากนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ถึง ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และปรับเพิ่มวันดื่มจาก 230 วัน เป็น 260 วัน ด้วยงบประมาณระหว่าง 11,016-14,000 ล้านบาท