Porter’s 5 Forces Model ชา กันยายน 2557
กันยายน 2557
สภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน
1. เกษตรกรผู้ปลูกชาต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากชาที่นำเข้าจากคู่แข่งในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเกษตรกรไทยมาก อย่างไรก็ตาม ชาของไทยมีข้อได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพของชา ซึ่งยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศ และต่างประเทศ
2. การแข่งขันในธุรกิจชาพร้อมดื่มมีความรุนแรง โดยผู้นำตลาดเน้นการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดด้วยการจัดโปรโมชั่น ชิงโชค เป็นสำคัญ
อํานาจต่อรองของผู้ซื้อ
ตลาดเป็นของผู้ซื้อ คือ ผู้บริโภคหรือประเทศผู้นำเข้า ผู้ซื้อกำหนดราคาในโครงสร้างอุตสาหกรรมทั้งหมด ผู้ที่มีอํานาจมากที่สุด คือ ประเทศผู้ซื้อ
อํานาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต
ผู้ขายปัจจัยการผลิตมีอำนาจต่อรองสูง เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกชาส่วนใหญ่ มีการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณสูง โดยเฉพาะ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช
สินค้าทดแทน
1. ผู้ที่ชื่นชอบการดื่มชาจะมีความภักดีต่อการบริโภคชาสูง มักไม่เลือกบริโภคเครื่องดื่มชนิดอื่นแทนชา
2. สําหรับชาพร้อมดื่ม ผู้บริโภคไม่ค่อยมีความภักดีในสินค้าเท่าใดนัก และมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพให้ผู้บริโภคเลือกดื่มเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ ในระยะหลังผู้บริโภคส่วนหนึ่งมีความกังวลถึงปริมาณน้ำตาลในชาพร้อมดื่ม จึงหันไปเลือกบริโภคเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยแทน
คู่แข่งรายใหม่
1. การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจชาพร้อมดื่ม ทําได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง โดยเฉพาะด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย รวมถึงต้องมีความเข้มแข็งของระบบการกระจายสินค้า
2. ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เข้าสู่ธุรกิจชาพร้อมดื่ม ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในวงการเครื่องดื่มอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุน และการกระจายสินค้า