การวิเคราะห์ Porter's Five Force Model ในอุตสาหกรรมนมถั่วเหลืองของประเทศไทย สิงหาคม 2557
สิงหาคม 2557
1. ด้านคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entrants)
คู่แข่งขันรายใหม่สามารถเข้ามาในอุตสาหกรรมการผลิตนมถั่วเหลืองค่อนข้างยากเนื่องจากการผลิตนมถั่วเหลืองต้องผลิตให้ได้ระดับ economy of scale เนื่องจากก่าไรต่อหน่วยค่อนข้างต่ำอย่างไรก็ตาม
หากพิจารณาคู่แข่งรายใหม่ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างมากขึ้น โดยการเพิ่มคุณค่าจากการเติมส่วนผสมที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ส่วนผสมที่หายาก เช่น ฟองเต้าหู้ พืชสมุนไพร ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีราคาสูง แต่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่นิยมนมถั่วเหลืองระดับพรีเมี่ยม ชอบความแปลกแตกต่าง การยินดีจ่ายจะมีสูงหากสินค้ามีคุณภาพเหมาะสมกับราคา
2. สภาพการแข่งขันระหว่างผู้แข่งขันรายเดิม (Rivalry Among Firms)
การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการรายเดิมค่อนข้างรุนแรง ลักษณะหรือวิธีการแข่งขันในปัจจุบัน มีลักษณะสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดย่อย (sub segmentation) ทั้งนี้กลยุทธ์ที่น่ามาใช้ที่สำคัญคือ การสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยการเติมสารอาหารหลากหลายชนิดได้แก่ วิตามินต่างๆ สารอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง บำรุงผิวพรรณ กระดูก ได้แก่ โอเมก้า 3 คอลลาเจนแคลเซียม เป็นต้น รวมไปถึงการนำส่วนผสมจากธรรมชาติมาเป็นจุดขาย ได้แก่ งาดำ เม็ดแมงลัก ข้าวกล้องงอก ฟองเต้าหู้ บางรายจะชูจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ในด้านเป็นผลิตภัณฑ์ Free Form เช่น ปราศจากน้ำตาลไขมัน พลังงานต่ำ เป็นต้น
3. ด้านสินค้าทดแทนกัน (Threat of Substitutes)
สินค้าที่สามารถทดแทนนมถั่วเหลืองจากเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากสัตว์ เช่น นมวัว นมแพะ เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากนมถั่วเหลืองเป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่านมวัว จึงทำให้นมถั่วเหลืองถูกมองว่าเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนนมวัวในกรณีที่นมวัวมีราคาสูงขึ้น
4. ด้านอำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers)
ถั่วเหลืองที่ผลิตได้ในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยประเทศไทยต้องนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 99 ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งหมด โดยเฉพาะความต้องการใช้ถั่วเหลืองคุณภาพดีเพื่อการบริโภค และอุตสาหกรรมอาหาร ในขณะเดียวกันผลผลิตภายในประเทศมีอัตราการผลิตลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง พื้นที่เพาะปลูกมีขนาดเล็ก ไม่มีขนาดใหญ่อย่างในต่างประเทศ ส่งผลให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสูงความผันผวนของราคาเมล็ดถั่วเหลืองที่เป็นต้นทุนหลักของการผลิต ถูกก่าหนดโดยอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่ออุปสงค์ของเมล็ดถั่วเหลือง นอกจากความต้องการใช้เพื่อการ