สถานการณ์ด้านการค้า
กันยายน 2564
1. ตลาดโลก
ตลาดอาหารจากพืช (Plan-Based Food) เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของกลุ่มผู้บริโภคอาหารจากพืชที่เพิ่มขึ้นจากกระแสการให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และรูปร่างที่ดี รวมทั้งทัศนคติการใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันอาหารที่ทำมาจากพืช (Plant-Based Food) กระจายอยู่ในหลายภูมิภาคทั่วโลกประมาณ 750 ล้านคน[1] หรือร้อยละ 10 ของประชากรโลก ตลาดสหภาพยุโรปและภูมิภาคอเมริกาเหนือโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่มีศักยภาพและเป็นผู้นำเทรนด์ ซึ่งสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชในหลากหลายรูปแบบถูกพัฒนาและนำออกวางจำหน่ายในตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยข้อมูลจาก บริษัท Markets and Markets ประเมินว่ามูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชในปี 2563 อยู่ที่ 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มสูงถึง 143 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2570 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 25.0 ต่อปี
ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสCOVID-19 ส่งผลกระทบในเชิงบวกอย่างมากต่อตลาดโปรตีนจากพืช จากการเร่งกักตุนสินค้าในช่วงกักตัวหรือถูกจำกัดบริเวณ ขณะที่โรงงานฆ่าสัตว์ต้องปิดตัวลงชั่วคราวทำให้เนื้อสัตว์ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมามองสินค้าทดแทนอื่น ๆ ประกอบกับการรับรู้ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดในการผลิตเนื้อสัตว์ ผู้บริโภคจึงเริ่มหันมาสนใจโปรตีนทางเลือกจากพืชแทน ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 500 สำหรับแบรนด์โปรตีนทางเลือก นอกจากนี้การระบาดของโรคยังส่งผลต่อยอดขายขนมขบเคี้ยวจากพืช นมจากพืช และอาหารเสริมเนื่องจากผู้บริโภคหันไปใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้น โดยจากข้อมูลของ Neilsan พบว่าในช่วงของการแพร่ระบาดระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2563 เนื้อจากพืชได้รับความนิยมและขายได้กว่า 5.3 ล้านชิ้นในร้านค้าปลีกภายในระยะเวลาเพียง 8 สัปดาห์ มากกว่าที่ขายได้ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงเกือบ 3 เท่า นอกจากนี้ ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2563 พบว่า ทั่วโลกมีการลงทุนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช ประมาณ 907 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 29,024 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.5 จากปี 2562 ที่มีการลงทุน 457 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 14,624 ล้านบาท
2. ตลาดในประเทศ
3. การส่งออก