Porter’s Five Force อุตสาหกรรมกะทิสำเร็จรูปไทย
สิงหาคม 2555
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการแปรรูปกะทิสำเร็จรูป สามารถสรุปได้ดังนี้
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการแปรรูปกะทิสำเร็จรูป สามารถสรุปได้ดังนี้
สภาวะการแข่งขันระหว่างผู้แข่งขันรายเดิม (Rivalry among firms)
1. ด้านการจัดหาวัตถุดิบ เนื่องจากผลลผิตมะพร้าวในประเทศเริ่มไม่พอเพียงสำหรับขนาดกำลังการผลิตรวมของอุตสาหกรรมกะทิสำเร็จรูปที่ขยายตัวตามความต้องการตลาดโลกและตลาดในประเทศ ทำให้ปัจจุบันวัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากอินโดนีเซียและประเทศเพื่อนบ้าน มีผู้ผลิตบางรายที่เริ่มส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบในประเทศด้วยการเชื่อมโยงกับเกษตรกรเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องวัตถุดิบ
2. การแข่งขันในตลาดกะทิสำเร็จรูปในประเทศโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมคือกะทิสำเร็จรูปที่ไม่ได้ปรุงแต่งอะไรเพิ่ม เริ่มรุนแรงมากขึ้น ผู้ผลิตต้องสร้างการจดจำแบรนด์ด้วยการทุ่มงบโฆษณามากขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องผลักดันการเพิ่มขนาดตลาดด้วยการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น กะทิปรุงแต่งกลิ่นรสเพื่อการทำขนม น้ำแกงปรุงสำเร็จ หรือขนาดบรรจุที่เล็กลงใช้ได้หมดในครั้งเดียว หรือกิจกรรม CSR เพื่อสร้างความเชื่อมโยงและภาพลักษณ์ที่ดีกับกลุ่มลูกค้า
ด้านคู่แข่งขันรายใหม่(Threat of new entrants)
1. ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามีผู้ผลิตรายใหม่ในการผลิตกะทิสำเร็จรูปมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน หากโรงงานใดมีการผลิตอาหารกระป๋องอยู่แล้วก็ปรับใช้ได้ แต่ผู้ผลิตรายใหม่ส่วนใหญ่ในไทยจะเป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดต่างประเทศ โดยมีทั้งที่ใช้แบรนด์ของตนเองและรับจ้างผลิต
2. การเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตกะทิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน อาศัยเงินลงทุนประมาณ 10-15 ล้าน เท่านั้น แต่สำหรับกะทิยูเอชที จะมีผู้ผลิตรายใหม่ไม่มาก เนื่องจากต้องลงทุนสูงทั้งด้านเครื่องจักรและสต็อกบรรจุภัณฑ์หากยอดขายไม่มากพอจะไม่คุ้ม
3. นอกจากจำนวนผู้ผลิตกะทิสำเร็จรูปจะเพิ่มขึ้นแล้ว ผู้ผลิตสินค้าทดแทนอย่างกะทิธัญพืช ซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ในแนวเพื่อสุขภาพ ก็มีแนวโน้มตลาดเติบโตขึ้นต่อเนื่อง