การค้าเครื่องปรุงรสของไทย กรกฎาคม 2560
กรกฎาคม 2560
การส่งออกของไทย
ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกเครื่องปรุงรสอันดับ 6 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน เยอรมันนี เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ตามลำดับ ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555-2559) อุตสาหกรมการส่งออกเครื่องปรุงรสของไทย มีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.23 ต่อปี ในปี 2559 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดโลกร้อยละ 5.44 การส่งออกเครื่องปรุงรสไปยังในตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มสูงขึ้นตามกระแสการบริโภคอาหารไทยในต่างประเทศ ที่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเปิดร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นเพียงกลุ่มประเทศ CLMV ที่นิยมนำเข้าเครื่องปรุงรสจากไทยเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความคล้ายคลึงกัน ทำให้การส่งออกเครื่องปรุงรสไปยังประเทศเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ในปี 2559 การส่งออกเครื่องปรุงรสของไทย มีปริมาณ 309,764 ตัน มูลค่า 20,727.41 ล้านบาท (เฉพาะ HS 2103) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.06 เทียบจากปีก่อน ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยอันดับ 1 ได้แก่ สหภาพยุโรป (EU-28) มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 4,400 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ กลุ่มประเทศ CLMV และสหรัฐอมเริกา คิดเป็นสัดส่วนรวมร้อยละ 15 และร้อยละ 13 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มเครื่องปรุงรสสำหรับปรุงอาหาร อาทิเช่น น้ำปลา เครื่องแกงสำเร็จรูป ซอสถั่วเหลือง (ซีอิ๊วขาว) ซอสหอยนางรมณ์ และซอสมะเขือเทศที่ใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ตารางที่ 1 มูลค่าส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยปี 2559-2560 (ม.ค.-พ.ค.)
จากตารางที่ 1 พบว่า การส่งออกน้ำปลาในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. ปี 2560 มีมูลค่า 8,847.18 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2559 มูลค่าส่งออกมีอัตราลดลงร้อยละ 4.20 รวมทั้งผลิตภัณฑ์ผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ซอสปรุงสำเร็จรูป และอื่นๆ มีอัตราลดลงร้อยละ 0.70 ขณะที่เครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ กลับยังมีอัตราเติบโตที่ดี ทั้งพริกแกงสำเร็จรูป ซอสถั่วเหลือง น้ำมันหอย ซอสมะเขือเทศ มัสตาร์ด
ส่วนตลาดส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยนั้น ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. ปี 2560 ตลาดญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าส่งออกมีอัตราละลงร้อยละ 13.93 ส่วนตลาดสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย มูลค่าส่งออกเครื่องปรุงรสก็มีอัตราลดลงเช่นกัน แต่ยังดีที่ตลาดใหญ่อย่างสหราชอาณาจักรและเยอรมนี การส่งออกยังขยายตัวได้ดีมากกว่าร้อยละ 10 ทำให้ภาพรวมยังไม่ติดลบ ในปีนี้ถือเป็นปีที่ผู้ประกอบการแปรรูปเครื่องปรุงรสต้องเริ่มหาแนวทางปรับตัวรับการแข่งขันและตลาดที่ซบเซา ซึ่งบางส่วนได้หันมาสร้างแบรนด์ในประเทศ จากที่ไม่เคยทำมาก่อนเพราะมุ่งแต่ตลาดส่งออกอย่างเดียว