การวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขัน (Porter’s Five Force Model) ทูน่า
มีนาคม 2557
ความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Revalry)
+ ความน่าเชื่อถือในชื่อเสียงของคุณภาพปลาทูน่ากระป๋องของไทย และความหลากหลายของรูปแบบสินค้า ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของตลาดที่มีความหลากหลายมากขึ้น
+ ความสามารถในการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ที่หลากหลายและมีการเติบโตทดแทนการถดถอยของตลาดหลักที่เคยมีมาในอดีต
+ ความสามารถในการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด และความรวดเร็วในการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ
+ มีการร่วมทุน ซื้อกิจการ และขยายฐานการผลิตไปยังประเทศต่างๆ ที่ได้สิทธิพิเศษจากข้อตกลงทางการค้า ทําให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน
- การขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนด้านแรงงานสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน ทําให้ต้องนําเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตมากขึ้น
- ตลาดส่วนใหญ่ยังนิยมบริโภคปลาทูน่ากระป๋องในรูปแบบหลักคือในน้ํา และในน้ำมันเป็นสําคัญ
อํานาจต่อรองของผู้ซื้อ (Buyers’ Power)
+ ผู้นําเข้ามีสินค้าให้เลือกจากหลายแหล่ง แต่ไทยเป็นผู้นําตลาดโลก ประกอบกับคุณภาพ และชื่อเสียงของทูน่ากระป๋องของไทยเป็นยอมรับในตลาด ผู้นําเข้าจึงมีอํานาจต่อรองในระดับหนึ่ง
- ตลาดมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ กําหนดเงื่อนไขในการทําการค้ามากขึ้น เช่น EU, ละตินอเมริกา, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น ทําให้ผู้ซื้อมีอํานาจต่อรองมากขึ้นระดับประเทศ
- จากสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศผู้นําเข้า จะทําให้ผู้นําเข้ามีการปรับตัวด้วยการจ้างผลิตปลาทูน่ากระป๋องภายใต้ตราสินค้าของตนเอง (House Brand) เพื่อจําหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค