อุตสาหกรรมปาลม์น้ำมัน การวิเคราะห์ Porter's Five Force Model ในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของประเทศไทย
กันยายน 2557
ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม
1. ด้านคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entrants) คู่แข่งขันรายใหม่สามารถเข้ามาสู่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันได้ยาก เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง โดยเฉพาะค่าเครื่องจักรที่ยังต้องพึ่งพาการนําเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าไทยจะสามารถผลิต เครื่องจักรบางชนิดได้เอง แต่ก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการผลิต
รวมทั้งแหล่งวัตถุดิบปาล์มน้ำมันที่มีจํากัดยัง เป็นอุปสรรคสําคัญให้มีผู้ประกอบการเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ได้ยาก นอกจากนี้การดําเนินธุรกิจปาล์มน้ำมัน จะต้องใช้เงินหมุนเวียนในการรับซื้อวัตถุดิบสูงมาก เนื่องจากเกษตรกรมีอํานาจต่อรองสูง จึงสามารถเลือก ขายวัตถุดิบให้กับโรงงานที่จ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบที่ต้องการมากที่สุด อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ น้ำมันปาล์ม โอเลอิน และ by product ต่างทยอยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
2. สภาพการแข่งขันระหว่างผู้แข่งขันรายเดิม (Rivalry among Firms)
เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีต้นทุนคงที่สูง ทําให้ผู้ที่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ เมื่อเข้ามาแล้วไม่สามารถออกจากอุตสาหกรรมได้โดยง่าย ส่งผลให้สภาวะการแข่งขันในตลาดน้ำมันปาล์มค่อนข้างรุนแรง แม้ว่าจะมีคู่แข่งน้อยรายแต่ก็เป็นเจ้าตลาดที่มีกําลังผลิตสูง และเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึง เน้นการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาในการแข่งขัน ซึ่งผู้บริโภคไม่ได้ยึดติดที่ยี่ห้อ แต่จะพิจารณาเลือกซื้อจาก ราคาสินค้าที่ถูกกว่า หรือมีกลยุทธ์การขายที่จูงใจกว่า โดยเฉพาะในห้างค้าปลีกหรือโมเดิร์นเทรด นอกจากนี้ การแข่งขันยังขึ้นอยู่กับการได้มาของวัตถุดิบที่จะทําให้ได้เปรียบกว่าคู่แข่งในด้านราคา ดังนั้นผู้ประกอบการ บางรายจึงทําตลาดเฉพาะพื้นที่ ซึ่งให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าการทําตลาดทั้งประเทศขณะที่ บางรายใช้แผนการขยายกําลังการผลิตของตนเพิ่มมากขึ้น
3. ด้านสินค้าทดแทน (Threat of Substitutes)
สินค้าทดแทนน้ำมันปาล์ม คือ น้ำมันถั่วเหลือง น้ํามันรําข้าว น้ำมันเรปซีด และน้ำมันทานตะวัน แต่ ระดับราคาสินค้ายังคงมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภค ที่เลือกใช้น้ำมันปาล์มเนื่องจากมีราคาถูก กว่าน้ํามันพืชชนิดอื่น อย่างไรก็ตาม การแข่งขันกับน้ำมันถั่วเหลืองอาจรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีการปลูกถั่ว เหลืองเพิ่มขึ้นในอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการกากถั่วเหลืองที่สูงขึ้น เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม อาหารสัตว์และผลผลิตที่สูงขึ้นจากการตัดแต่งพันธุกรรม นอกจากนี้ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันรําข้าวออกสู่ตลาดมากขึ้น