อุตสาหกรรมไก่เนื้อ Porter’s 5 Forces Model
กันยายน 2557
สภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน
1. การเลี้ยงไก่ถูกพัฒนาเข้าสู่ในฟาร์มระบบปิดทั้งหมด เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อแบบอิสระ หันไปเลี้ยงไก่เนื้อแบบประกันราคาและรับจ้างเลี้ยงมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาด ของโรคไข้หวัดนก ทําให้ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากไทยได้รับการยอมรับในด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
2. ธุรกิจโรงฆ่าและชําแหละไก่ ถูกควบคุมมาตรฐานการผลิตอย่างเข้มงวดโดยกรมปศุสัตว์ นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทําให้โรงงานปรับปรุงมาตรฐานโรงฆ่าและชําแหละ ไก่ ทําให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น 3. ประเทศคู่แข่งที่สําคัญของไทยมีการแข่งขันด้านราคาอย่างเข้มข้น โดยใช้ความได้เปรียบด้าน ต้นทุนการผลิตที่ต่ํากว่า
อํานาจต่อรองของผู้ซื้อ
1. ตลาดส่งออกไก่แปรรูปของไทยมีเพียง 2 ตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทําให้ไทยมี อํานาจในการต่อรองราคาต่ํา
2. ผู้ผลิตผลิตสินค้าตามคําสั่งซื้อของลูกค้า (OEM) โดยไม่มีตราสินค้าของตนเองและไม่มีช่องทาง จําหน่ายที่หลากหลาย จึงมีอํานาจในการต่อรองราคาต่ํา
3. ผลิตภัณฑ์ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งในตลาด ไม่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทําให้ผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของยี่ห้อใดก็ได้ โดยมักใช้ปัจจัยทางด้านราคาเป็นเกณฑ์ในการ ตัดสินใจซื้อ
4. การระบาดของโรคไข้หวัดนกในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้ผู้นําเข้าสินค้าไก่สด แช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปมีอิทธิพลอย่างมากต่อการอนุญาตการนําเข้าผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุผล ของความปลอดภัย
อํานาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต
1. การพึ่งพาปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เช่น พันธุ์สัตว์ วัตถุดิบอาหารสัตว์ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ทําให้ต้นทุนการเลี้ยงไก่ของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่ สําคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล และจีน
2. ยาและเวชภัณฑ์สัตว์ เพื่อป้องกันและรักษาโรคระบาด ถูกกําหนดราคาโดยผู้จําหน่าย ซึ่งปัจจัย เหล่านี้เป็นตัวที่สําคัญในการกําหนดต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ถ้าต้นทุนการผลิตสูงจะส่งผล โดยตรงต่อผลตอบแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่