นโยบาย/มาตรการ/กฎระเบียบ
พฤษภาคม 2564
นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์สับปะรด ปี 2560 – 2569
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดคุณภาพและลดต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกและรักษาความเป็นผู้นำการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดอันดับ 1 ของโลกรักษาเสถียรภาพราคาและคุณภาพมาตรฐานสินค้าสับปะรด และสร้างความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกรและโรงงานแปรรูปสับปะรด
ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต ได้แก่ กำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม เกษตรกรและโรงงานวางแผนการผลิตและทำสัญญาข้อตกลง (Contract Farming)
- ยุทธศาสตร์ด้านการแปรรูป ได้แก่ โรงงานแปรรูปสับปะรดต้องรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ได้ GAP โรงงานแปรรูปสับปะรดเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต
- ยุทธศาสตร์ด้านการตลาด ได้แก่ ซื้อขายผลิตภัณฑ์สับปะรดในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Market) หาตลาดใหม่เพิ่ม
- ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การพัฒนาฐานข้อมูลสับปะรด นอกจากนี้ กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด เพื่อให้มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม
สำหรับการดำเนินงานตามยุทธศาตร์สับปะรดฯ จะผลักดันให้มีการส่งเสริมการผลิตสับปะรดในรูปแบบแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวทางประชารัฐและไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติทราบทุกไตรมาส ทั้งนี้ ให้มีการทบทวนยุทธศาตร์สับปะรดทุก 3 ปี
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านสับปะรด ปี 2564-2565
ประกอบด้วยแผนปฏิบัติการ 3 ด้าน ได้แก่
- ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและบริหารจัดการผลิต
- ส่งเสริมการปลูกสับปะรดในพื้นที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต และผลผลิตมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
- สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 3) ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้
- ด้านการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมแปรรูป
- ส่งเสริมการวิจัย การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสับปะรด
- เพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Productivity)
- ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มสิ่งเหลือใช้จากกระบวนการผลิต
- ด้านการเพิ่มศักยภาพการตลาดและการส่งออก
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรด
- ส่งเสริมการบริโภคเมนูอาหารจากสับปะรดตลาดในประเทศและต่างประเทศผ่านสื่อต่าง ๆ
- ส่งเสริมการสร้างตราสินค้าสับปะรดไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สับปะรดกระป๋องรวมถึงน้ำสับปะรดกระป๋องเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง/ขึ้นทะเบียน/ขึ้นบัญชีประกอบการส่งออก-นำเข้า โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ตรวจสอบสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศ
- เพื่อขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เช่น Form A, Form D, Form E, Form FTA, Form JTEPA, Form C/O ทั่วไป ฯลฯ ตามที่ผู้นำเข้าต้องการกับกรมการค้าต่างประเทศ
- ตรวจสอบและขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากกรมศุลกากรเช่น การขอคืนเงินชดเชยค่าภาษีอากร, ขอคืนอากรตามมาตร 12ทวิ, คลังสินค้าทัณฑ์บน, เขตปลอดอากร หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในเขตประกอบการเสรี หรือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- ตรวจสอบกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า และขอใบอนุญาต/ใบรับรอง จากหน่วยงานที่ควบคุมหรือที่เกี่ยวข้อง ตามที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ
- สมัครเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป
- ขอใบอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- ขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ (Certificate of Free Sale) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
- ขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลและขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อการส่งออก จากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
- ผ่านพิธีการศุลกากร (e-Cutomers)
4.1 ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (Paperless)
4.2 ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร (e-Export)
- ส่งออกทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ
- ขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า จากกรมการค้าต่างประเทศ เช่น Form A, Form D, Form E, Form FTA, Form JTEPA, Form C/O ทั่วไป ฯลฯ
- ขอใบรับรองแหล่งกำเนินสินค้า (Form C/O)
- จากหอการค้าไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ส่งเอกสารทางการค้าที่เกี่ยวข้อง (Shipping Documents) ไปยังผู้นำเข้าในต่างประเทศ
- บริหารสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ตามที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ (จากข้อ 2)
มาตรการของคู่ค้าที่เป็นอุปสรรค
มาตรการที่มิใช้ภาษีของประเทศคู่ค้าสำคัญ
สหรัฐอเมริกา
การนำเข้าสับปะรดสดโดยผ่านการฉายรังสี มีข้อกำหนดดังนี้
- การเพาะปลูก : สวนที่ใช้เพาะปลูกต้องขึ้นทะเบียนและได้รับการรับรองระบบ GAP และ GMP จากกรมวิชาการเกษตร
- การกำจัดศัตรูพืชสับปะรดที่ต้องบรรจุในภาชนะหรือกล่องที่สามารถป้องกันศัตรูพืชได้ก่อนส่งไปฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์ ที่สถาบันนิวเคลียร์แห่งชาติ
- ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificates) ที่ระบุว่าได้ผ่านการฉายรังสีแล้ว
- ระบุฉลากที่แสดง Country of Origin รวมถึงตราสัญลักษณ์ที่ระบุว่าสับปะรดผ่านการฉายรังสีแล้ว
- ผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีจะต้องถูกจีดส่งในลังที่ผ่านการจัดการ (Treatment) แล้วเท่านั้น
ญี่ปุ่น
การนำเข้าสับปะรดกระป๋องมีข้อกำหนด ดังนี้
- มีคุณภาพตาม Food Sanitation Law และ Product Liability Law และใช้ระบบ HACCP
- ผลไม้ที่แช่ในน้ำตาล sub-sulfuric acid, acetic acid และแอลกอฮอลล์ไม่จำเป็นต้นผ่านการตรวจสอบโรคพืช
- ผู้นำเข้าผลไม้กระป๋องเป็นครั้งแรกต้องยื่นรายละเอียดของส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิตต่อ MHLW (Ministry of Health Labour and Welfare)
นิวซีแลนด์
สับปะรดสดต้องตรวจสอบเพื่อปลอมจากแมลงศัตรูพืชและโรคจำพวกแบคทีเรียและเชื้อราก่อนการส่งออก และต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) ซึ่งออกโดยกรมวิชาการเกษตรแนบสำหรับการส่งออกทุกครั้ง
สินค้าต้องถูกนำไปผ่านกระบวนการความร้อนอย่างน้อย 47 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างต่ำ 20 นาที หรือกระบวนการใช้ความเย็นที่อุณหภูมิ 0.99 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 13 วัน หรือทีอุณหภูมิ 1.38 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 วัน
ณ จุดตรวจสินค้าขาเข้า จะมีการตรวจเอกสารในแต่ละ consignment สำหรับการส่งออกทุกครั้ง และจะมีการสุ่มตรวจสินค้าจำนวน 600 หน่วย
กรณีพบแมลง/โรคในสินค้าผู้นำเข้ามีทางเลือกดังนี้ (ขึ้นอยู่กับประเภทของแมลงและโรคที่ตรวจพบ)
- ทำการ Treamentใหม่
- ส่งสินค้ากลับ
- ทำลายสินค้า
ออสเตรเลีย
การส่งออกสับปะรดสด มีข้อกำหนด ดังนี้
- ต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าโดยผู้นำเข้าต้องยื่นเอกสาร Quarantine Entry ต่อ AQIS ทุกครั้ง พร้อมต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัย
- สินค้าต้องปลอดจากแมลงมีชีวิต เชื้อโรค เมล็ดพันธุ์พืช รวมถึงเศษดินต่าง ๆ และบรรจุในหีบห่อ
ที่สะอาดและใหม่เสมอ
- ก่อนการส่งออกต้องผ่านการรมยาด้วย Methyl bromide ที่ความเข้มข้น 32 gm3 อย่างต่ำเป็นเวลา
2 ชม. (อุณหภูมิการรมยาขึ้นกับปริมาณยา)
- กรณีสินค้าไม่มีใบรับรองสุขอนามัยจะต้องถูกส่งกลับหรือทำลาย
- ต้องปลิดก้าน/ขั้ว และใบสับปะรดซึ่งหากไม่มีการปลอดใบและขั้วออก จะไม่อนุญาตให้สินค้าเข้าประเทศรวมทั้งจะต้องถูกส่งกลับหรือทำลาย
- กรณีบรรทุกสินค้าเต็มตู้คอนเทนเนอร์ (Full Container Load: FCL) บรรจุภัณฑ์ไม่ต้องได้รับการตรวจว่าปราศจากเศษดิน พืช หรือสิ่งเจือปนจากสัตว์
- สินค้าจะต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากแมลงและโรคพืชโดยอยู่ในกล่องไม่มีรูระบายอาการ ปิดฝากล่องให้เรียบร้อยหรือมีรูระบายอากาศได้
- กรณีตรวจพบแมลงมีชีวิตที่ไม่ใช่ Khapra beetle สินค้าจะต้องถูกส่งกลับหรือทำลาย และหากพบแมลงจพะวก Khapra beetle สินค้าจะต้องถูกรมยาด้วย Methyl bromide ที่ความเข้มข้น gm3 เป็นเวลา 48 ชใม. ที่อุณหภูมิ 21°C
เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศ (2560) ขั้นตอนการส่งออกสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดกระป๋อง [ออนไลน์]:. เข้าถึงได้จาก https://onestopservice.ditp.go.th/file/9.25%20สับปะรดกระป๋อง.pdf (วันที่สืบค้นข้อมูล: 23 กุมภาพันธ์ 2564)