Porter’s Five Force Model กุ้ง พฤษภาคม 2557
พฤษภาคม 2557
ในการพิจารณาสภาวะขีดความสามารถในการแข่งขันตามตัวแบบของ ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ ในรายงานนี้จะพิจารณาโดยเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับตลาดโลก โดยมองศักยภาพต่างๆ เป็นภาพองค์รวมระดับประเทศ
สภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน
The intensity of competitive rivalry
(-) การเติบโตของอุตสาหกรรม (industrial growth) อุตสาหกรรมกุ้งของไทยหากพิจารณาการเติบโตโดยดูองค์ประกอบด้านวัตถุดิบจะเห็นได้ว่าโอกาสในการขยายการเพาะเลี้ยงค่อนข้างจํากัด เนื่องจากมาตรา 9 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มีคําสั่งให้ระงับการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด เนื่องจากทําให้เกิดภาวะมลพิษทั้งทางน้ำและพื้นที่ดิน 55 จังหวัด ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายต่างมองว่ากำลังการผลิตกุ้งของไทยสูงที่สุดน่าจะอยู่ในช่วง 6 แสนตัน โดยเป็นการผลิตซ้ำ 2-3 รอบต่อปีในพื้นที่เดิม ทำให้ไม่น่าจะขยายพื้นที่ได้มากกว่านี้ หากไม่มีเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงที่พัฒนาขึ้นหรือการผ่อนปรนมาตรา 9 วรรค 2
ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา หากไม่นับรวมวิกฤติการระบาดของโรคตายด่วน EMS จะพบว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมจะเน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทําให้มูลค่าส่งออกของไทยยังขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางดังกล่าวน่าจะเติบโตต่อไปได้อีกไม่นานเท่าไรนัก
(+) ความสามารถในการผลิตล้น (industry overcapacity ) หากพิจารณาจากกําลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งของไทยในปัจจุบันนับว่ามีการลงทุนในระดับที่มีกําลังการผลิตเหลืออีกมากเพราะปัจจุบันในภาพรวมมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพียงไม่ถึงร้อยละ 60 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นหากมีวัตถุดิบและคำสั่งซื้อ โรงงานก็ยังมีความสามารถในการแปรรูปได้อีก
(+) อุปสรรคในการออกจากตลาด (exit barriers) โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการของไทยจะเป็นโรงงานแช่แข็ง ซึ่งสามารถผลิตสินค้าประมงและสินค้าอื่นๆ แช่แข็งได้ ทําให้สายการผลิตมีความยืดหยุ่นและกระจายความเสี่ยง มีเพียงไม่กี่รายที่เน้นการผลิตกุ้งเพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้เมื่อประสบปัญหาด้านตลาดส่งออกกุ้งและด้านวัตถุดิบจะกระทบกระเทือนอย่างแรงถึงขั้นต้องเลิกกิจการ ซึ่งในการออกจากตลาดก็สามารถทำได้โดยไม่มีอุปสรรคหรือข้อกำหนดใดด้านกฎหมาย เพียงแต่ด้านแรงงานต้องมีการแจ้งล่วงหน้าและจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งก็เป็นภาระจำนวนมากพอสมควรสำหรับโรงงานที่มีการจ้างงานจำนวนมาก ดังนั้นในช่วงหลัง โรงงานจึงนิยมจ้างสถานแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น(ล้ง)ในการคัดไซส์ เด็ดหัว ปอก