อุตสาหกรรมสุกรไทย
พฤษภาคม 2560
ในปี 2559 ไทยมีปริมาณผลผลิตสุกร 14.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ซึ่งอัตราการขยายตัวดังกล่าว อยู่ในระดับสูงมากเมื่อเทียบกับแนวโน้มการเติบโตเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ต่อปี โดยสาเหตุที่ทำให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากผลของปัจจัยด้านราคาที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น รวมทั้งในปัจจุบันเกษตรกรมีการพัฒนาปรับปรุงฟาร์มให้มีมาตรฐานและสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น ส่งผลให้อัตราการรอดของลูกสุกรเพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่จะมีการระบาดของโรคในสุกรในหลายพื้นที่ก็ตาม
สถานการณ์การเพาะเลี้ยง
สุกรเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายและให้ผลตอบแทนดี เพราะขยายพันธุ์ได้เร็ว มีลูกดก สามารถเริ่มต้นการเลี้ยงจากฟาร์มเล็กๆ จำนวนไม่กี่ตัวก็ได้ ทำให้ใช้เงินลงทุนน้อย
จึงเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมาก ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั้งหมดจำนวน 191,289 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.7 และมีเพียงร้อยละ 0.1 หรือ 260 ครัวเรือนเท่านั้นที่มีการเลี้ยงสุกรในรูปแบบฟาร์มขนาดใหญ่ (มากกว่า 5,000 ตัว ขึ้นไป) แหล่งผลิตสุกรที่สำคัญของไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57 ของปริมาณการผลิตสุกรทั่วประเทศ โดยจังหวัดที่มีการเลี้ยงสุกรมากที่สุด5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และสระบุรี ตามลำดับ
ในปี 2559 ไทยมีปริมาณผลผลิตสุกร 14.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ซึ่งอัตราการขยายตัวดังกล่าว อยู่ในระดับสูงมากเมื่อเทียบกับแนวโน้มการเติบโตเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ต่อปี โดยสาเหตุที่ทำให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากผลของปัจจัยด้านราคาที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น รวมทั้งในปัจจุบันเกษตรกรมีการพัฒนาปรับปรุงฟาร์มให้มีมาตรฐานและสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น ส่งผลให้อัตราการรอดของลูกสุกรเพิ่มขึ้น