ผลสำรวจแนวโน้มสุขภาพในประเทศไทย หรือ Thailand Health & Well Being Trend ล่าสุดเผยพฤติกรรมสุขภาพคนไทยพบว่า 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามประเมินว่าตนเองมีความรู้ดีเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 51% และมีมากถึง 98% ที่ทราบดีว่าการออกกาลังกายเป็นประจำทำให้มีสุขภาพดีแต่มีเพียง 48% เท่านั้นที่สามารถปฏิบัติได้จริง
แนวโน้มการออกอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (Novel Foods) ใหม่เข้าสู่ตลาดทั่วโลก
นิยาม Novel Food
ประเทศไทย
นิยาม : 1. วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการว่า มีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี
2. วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบของอาหาร โครงสร้างของอาหาร หรือ รูปแบบของอาหาร นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตหรือเมแทบอลิซึม (Metabolism) หรือ ระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ (Level of undesirablesubstances)
3. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุตามข้อ (1) หรือ (2) เป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร และอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม”
EU
นิยาม : อาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์ที่ไม่เคยมีการบริโภคในสหภาพยุโรปก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 (ค.ศ. 1997) ได้แก่
1. อาหารที่สกัด/พัฒนาด้วยนวัตกรรมใหม่
2. อาหารที่ผลิตจากแหล่งโภชนาการใหม่
3. อาหารที่ผลิตจากกรรมวิธีรูปแบบใหม่
4. อาหารแบบดั้งเดิมที่มีการบริโภคโดยทั่วไปนอกกลุ่ม EU
Australia
นิยาม : อาหารที่ไม่ใช่อาหารท้องถิ่น (Non-traditional food) ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาให้ประเมินด้านสาธารณสุขและความปลอดภัย ดังนี้
1. ความเป็นไปได้ในการเกิดผลข้างเคียงต่อมนุษย์ (potential for adverse effects in humans)
2. ส่วนประกอบหรือโครงสร้างของอาหาร (composition or structure of the food)
3. กระบวนการในการเตรียมอาหาร (process by which the food has been prepared)
4. แหล่งที่มา (source from which it is derived)
5. รูปแบบและปริมาณการบริโภค (patterns and levels of consumption of the food)
6. ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
United Stated
ข้อกำหนดสารที่ไม่เข้าข่ายในกลุ่ม GRAS (Generally Recognized As Safe) ภายใต้ Code of Federal Regulations Title 21
ตัวอย่าง