พฤษภาคม 2567
งานวิจัยล่าสุดในคูเวตพบข้อค้นพบที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องดื่มยอดนิยมกับความเสี่ยงโรคอ้วนในเด็ก นักวิจัยติดตามเด็กนักเรียน 6,305 คนเป็นเวลา 2 ปี โดยแบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่มตามปริมาณการบริโภค ได้แก่ ผู้ไม่ดื่ม (0 หน่วย/วัน) ผู้ดื่มปานกลาง (1-2 หน่วย/วัน) และผู้ดื่มมาก (3 หน่วยขึ้นไป/วัน)
ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมและนมปริมาณมาก มีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนสูงกว่าเด็กที่ดื่มน้ำผลไม้ปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งที่การดื่มน้ำผลไม้มักถูกมองว่ามีความเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม เด็กที่ดื่มน้ำอัดลม นม หรือน้ำผลไม้ในปริมาณปานกลาง ไม่ได้มีความชุกของโรคอ้วนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
นักวิจัยได้ประเมินผลกระทบของการบริโภคน้ำอัดลม นม และน้ำผลไม้ต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในช่วงปี 2012 ถึง 2014 โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ ระดับสมรรถภาพ และตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลาย (สารที่พบในน้ำลายซึ่งใช้บ่งชี้แง่มุมต่าง ๆ ของสุขภาพได้) ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อคำนึงถึงความแตกต่างของความต้องการพลังงาน และผลกระทบของปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราการเผาผลาญ และระดับกิจกรรมที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนจากการบริโภคเครื่องดื่มได้
download PDF ย้อนกลับ