สวัสดี

Technology & Innovation

สำรวจความนิยมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเก๋ากี้ ยอดสมุนไพรจีนที่กลับมาฮิตฮอตอีกครั้ง หลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ของทางการจีน

กุมภาพันธ์ 2567

รายละเอียด :

ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ของทางการจีน ที่นอกจากจะทำให้กิจกรรมการเดินทางกลับมาคึกคักมากขึ้น ยังก่อให้เกิดการติดเชื้อในวงกว้าง (Mass Infection) ในประชากรจีนซึ่งสอดคล้องจากข้อมูลของ www.theguardian.com ที่ระบุว่าตั้งแต่ทางการจีนผ่อนคลายมาตรการฯ มีผู้ติดเชื้อฯไปแล้วกว่า 80% ทั่วประเทศ

ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ชาวจีนจำนวนมากที่หายจากอาการป่วยหันมาใส่ใจกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มการรักษาและฟื้นฟูร่างกายด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนที่สอดคล้องกับข้อมูลของ Chinadaily ว่าสถานพยาบาลหลายๆ แห่งของจีน ได้ใช้การแพทย์แผนจีนเพื่อช่วยให้ประชาชนฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการฟื้นฟูระบบการหายใจและการบรรเทาอาการอ่อนเพลีย-เมื่อยล้า ซึ่งรวมไปถึงการนำสมุนไพรจีนมาใช้เพื่อการฟื้นฟูและเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วย

 

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอาน ได้เขียนบทความการสำรวจความนิยมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเก๋ากี้หนิงเซี่ย ซึ่งกลายมาเป็น 1 ในพระเอกของการฟื้นฟูและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายให้กับผู้ป่วยโควิด-19

 

สำรวจเก๋ากี้ อัญมณีแดงเขตฯ หนิงเซี่ยหุย

อุตสาหกรรมการปลูกและแปรรูปเก๋ากี้ ถือเป็น 1 ในอุตสาหกรรมเส้นเลือดใหญ่ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยในปี 2565 มีพื้นที่ปลูกเก๋ากี้ 435,000 หมู่ (ราว 178,278 ไร่) และมีกำลังการผลิตเก๋ากี้สดรวม 300,000 ตันต่อปี และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้     อุปสงค์เก๋ากี้ หนิงเซี่ยในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เก๋ากี้หนิงเซี่ยมีจุดเด่นในด้านอุดมไปด้วยโพลีแซคคาไรด์ แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ กรดอะมิโนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะโพลีแซคคาไรด์ (Lycium barbarum polysaccharides) ที่เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าโพลีแซคคาไรด์ส่งผลต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อย่างชัดเจน  โดยเฉพาะเก๋ากี้จากอำเภอจงหนิงของเขตฯ หนิงเซี่ยหุย ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “บ้านเกิดของเก๋ากี้หนิงเซี่ย” สามารถปลูกและผลิตเก๋ากี้คุณภาพสูงได้มากที่สุด โดยในปี 2565 เพียงแค่อำเภอจงหนิงเพียงแห่งเดียวก็มีพื้นที่ปลูกเก๋ากี้ 170,000 หมู่ (ราว 69,672 ไร่) หรือ คิดเป็นสัดส่วน 40% ของพื้นที่ทั้งอำเภอ นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นได้สนับสนุนการสร้างแบรนด์ “เก๋ากี้จงหนิง” (Zhongning Goji Berry) สู่การเป็นแบรนด์สินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงระดับภูมิภาค (Regional public brand) ซึ่งในปีที่ผ่านมาสร้างรายได้ไปกว่า 19,032 ล้านหยวน และยังได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP, ISO9001, HACCP ในกระบวนการผลิตและแปรรูปเก๋ากี้อีกด้วย

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527