มีนาคม 2565
งานวิจัยใหม่จาก WRAP เปิดเผยว่าเป็นการท้าทายผู้ค้าปลีกผักและผลไม้สดอย่างมากที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอนาคต
โครงการวิจัยของ WRAP ซึ่งใช้เวลา 18 เดือน รวบรวมข้อมูลจากภาคค้าปลีก ตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างขยะอาหารในบ้านกับการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ตรวจสอบอิทธิพลของการระบุวันที่ควรบริโภคก่อน (Best before) และอุณหภูมิในการจัดเก็บที่มีต่อการเสื่อมเสียของอาหาร
จากการทดสอบ ผักผลไม้ 5 รายการ (แอปเปิ้ล กล้วย บร็อคโคลี่ แตงกวา และมันฝรั่ง) ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบหลวมทำการทดสอบที่อุณหภูมิต่างกัน พบว่าการปรับวิธีขายผักผลไม้สดไม่ตัดแต่งที่บรรจุในพลาสติกแบบหลวมๆ (เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเลือกเองตามปริมาณที่ต้องการโดยไม่ต้องแพ็คไว้ในถุงพลาสติกหรือถาด) ลบฉลาก Best Before ออก จะส่งผลให้ลดปริมาณขยะอาหารในครัวเรือนได้ประมาณ 100,000 ตัน ลดการใช้พลาสติกมากกว่า 10,300 ตัน และลดการปลดปล่อยคาร์บอน 130,000 ตัน CO2e. การประหยัดนี้มาจากการช่วยให้ผู้บริโภคซื้อในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการ (มันฝรั่ง กล้วย และแอปเปิ้ล) และใช้วิจารณญาณในการตัดสินว่าเมื่อไรยังกินได้อยู่ ในขณะที่ซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ก็มีการขายผักผลไม้บางประเภทในบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบหลวม การวิจัยใหม่นี้แสดงหลักฐานที่น่าสนใจอย่างมีนัยสำคัญ WRAP ในการจัดการกับผักและผลไม้สดหลากหลายประเภท
งานวิจัยนี้ได้ยืนยันประเด็นที่ว่าสำหรับผักผลไม้ที่ไม่ได้ตัดแต่งสามารถรับประทานได้นานกว่าวันที่ควรบริโภคก่อน (Best before) ที่ระบุไว้ในฉลากหากเก็บรักษาในตู้เย็น เช่น แอ้ปเปิ้ล แช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเก็บไว้รับประทานได้นานกว่าวันที่ระบุที่ฉลากถึง 2 เดือนครึ่ง โดยไม่แสดงสภาพเสื่อมเสีย บร็อคโคลี่ เก็บไว้ได้นาน 2 สัปดาห์หลังวันที่ควรบริโภคก่อนในฉลาก โดยไม่เสื่อมเสีย ทำให้ WRAP เรียกร้องให้ภาครัฐยกเลิกการระบุวันที่ควรบริโภคก่อนที่ฉลากสำหรับผักผลไม้สดไม่ตัดแต่ง และให้คำแนะนำกับผู้ค้าผักผลไม้สด 3 ประเด็นดังนี้
Marcus Gover ซีอีโอของ WRAP กล่าวว่า "การวิจัยนี้อาจเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการจัดการขยะอาหารและมลภาวะพลาสติก เราได้ชี้แจงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารเสีย บรรจุภัณฑ์พลาสติก การระบุวันที่ในฉลาก และการจัดเก็บอาหาร แม้ว่าบรรจุภัณฑ์จะมีความสำคัญและมักจะมีบทบาทสำคัญในการปกป้องอาหาร แต่เราได้พิสูจน์แล้วว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่จำเป็นสำหรับการยืดอายุของผลิตภัณฑ์สดที่ยังไม่ได้ตัดแต่ง ในกรณีนี้เป็นการเพิ่มขยะ เราได้แสดงให้เห็นศักยภาพในการรักษาอาหารที่มีคุณภาพจากการถูกทิ้งโดยการนำฉลากวันที่ควรบริโภคก่อนออก
ที่มา :
Sell fresh uncut produce loose, says WRAP report. สืบค้นจาก https://www.foodnavigator.com/Article/2022/02/28/sell-fresh-uncut-produce-loose-says-wrap-report
[i] WRAP ก่อตั้งขึ้นในฐานะบริษัทที่ไม่แสวงหาผลกำไรในปี 2543 กลายเป็นองค์กรการกุศลในปี 2557 มีสำนักงานตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร มีเป้าหมายในการรณรงค์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนภายใต้ SDG Goal ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://wrap.org.uk/