สวัสดี

Technology & Innovation

หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ FSA ชี้ฉลากสิ่งแวดล้อมเป็น 'โอกาสทอง' สำหรับอุตสาหกรรม

มกราคม 2565

รายละเอียด :

โรบิน เมย์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของหน่วยงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร  (The UK Food Standards Agency)  กล่าวว่าจำเป็นต้องเร่งปรับระบบการติดฉลากสิ่งแวดล้อมให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้สามารถกำหนดเส้นทางสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารได้ชัดเจน จากการสำรวจผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรของ FSA เกือบสามในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจ (73%) คิดว่าการซื้ออาหารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำเป็นสิ่งสำคัญ แต่มีเพียง 49% เท่านั้นที่พิจารณาว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารส่วนบุคคลของพวกเขาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพบว่าต้นทุนของการผลิตอาหารแบบยั่งยืนเป็นอุปสรรคที่สุด (29%) ในขณะที่ 16% ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความยั่งยืน/ไม่ยั่งยืน ซึ่งนับเป็นอุปสรรคต่อการรับประทานอาหารที่ยั่งยืนมากขึ้น  ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีมาตรฐานที่ตกลงกันในระดับสากลสำหรับการติดฉลากความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และไม่มีข้อตกลงว่า 'การผลิตที่ยั่งยืน' ควรวัดจากอะไร เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้น้ำ หรือผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยเหตุนี้ จึง "ไม่มีวิธีง่ายๆ สำหรับผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้ออาหารตามหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม"

อนึ่ง การแนะนำฉลากสิ่งแวดล้อมอาจช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง การเปลี่ยนระบบการผลิตอาหารให้เป็นระบบที่ยั่งยืนอย่างสมบูรณ์ต้องอาศัยหลักการศูนย์กลาง –รอยเท้าทางสิ่งแวดล้อมของอาหารนั้นเป็นที่รู้จัก- ฉลากอาหารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบรอยเท้าทางสิ่งแวดล้อมของอาหารต่างๆ และลงคะแนนด้วยกระเป๋าเงินของพวกเขา ที่สำคัญกว่านั้นการติดฉลากสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหารอย่างทรงพลัง ประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการติดฉลากโภชนาการที่บังคับได้ช่วยจูงใจให้บริษัทต่างๆ ปรับสูตรอาหาร  นำเสนอประโยชน์ด้านสุขภาพที่เหนือกว่าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในการซื้อของแต่ละคน ฉลากสิ่งแวดล้อมสามารถบรรลุผลเช่นเดียวกันสำหรับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมและผลักดันการปรับปรุงอย่างรวดเร็วในด้านความยั่งยืนของอาหาร

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527