เมษายน 2564
หลายรัฐในทางภาคตะวันตกของอินเดียเริ่มมีการเพาะปลูกผลไม้จากต่างประเทศ (Exotic Fruits) เพื่อให้คนอินเดียสามารถเข้าถึงผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในราคาที่ไม่แพง ซึ่งในปัจจุบันผลไม้เหล่านี้ต้องนำเข้า และมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการจัดเลี้ยงในโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่จากสถานการณ์ โควิด-19 และการล็อคดาวน์เมื่อปี 2563 ทำให้ผลไม้เหล่านี้ไม่สามารถขายให้กับโรงแรม ร้านค้า และการใช้ในการจัดเลี้ยงได้ ผู้นำเข้าจึงได้นำผลไม้ไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ และพบว่าผู้บริโภคให้การตอบรับค่อนข้างดีโดยมองว่าเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเพิ่มภูมิคุ้มกัน เช่น เงาะ แก้วมังกร อโวคาโด กีวี่ และผลไม้ตระกูลเบอรี่ (เชอรี่ บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่) จึงเกิดความคิดที่จะมีการเพาะปลูกผลไม้เหล่านี้เพื่อให้มีราคาลดลง
สาระสำคัญของข่าว
หลายรัฐในทางภาคตะวันตกของอินเดียเริ่มมีการเพาะปลูกผลไม้จากต่างประเทศ (Exotic Fruits) เพื่อให้คนอินเดียสามารถเข้าถึงผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในราคาที่ไม่แพง ซึ่งในปัจจุบันผลไม้เหล่านี้ต้องนำเข้า และมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการจัดเลี้ยงในโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่จากสถานการณ์ โควิด-19 และการล็อคดาวน์เมื่อปี 2563 ทำให้ผลไม้เหล่านี้ไม่สามารถขายให้กับโรงแรม ร้านค้า และการใช้ในการจัดเลี้ยงได้ ผู้นำเข้าจึงได้นำผลไม้ไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ และพบว่าผู้บริโภคให้การตอบรับค่อนข้างดีโดยมองว่าเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเพิ่มภูมิคุ้มกัน เช่น เงาะ แก้วมังกร อโวคาโด กีวี่ และผลไม้ตระกูลเบอรี่ (เชอรี่ บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่) จึงเกิดความคิดที่จะมีการเพาะปลูกผลไม้เหล่านี้เพื่อให้มีราคาลดลง
พื้นที่ที่เริ่มมีการปลูกผลไม้เพื่อทดแทนการนำเข้า คือ รัฐเกรละ (Kerela) โดยเฉพาะที่อำเภอ Wayanad และ Idukki ซึ่งทางรัฐบาลจะให้ข้อมูล/คำปรึกษา และสนับสนุนพันธุ์ผลไม้ เช่น เงาะ มังคุด ลิ้นจี่ ขนุน ฟิค(Fig) และอโวคาโด รวมทั้งวัสดุการปลูกคุณภาพดี โดยมีมหาวิทยาลัย Kerala Agriculture University ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ นอกจากนี้ยังมีการปลูกผลไม้กลุ่มนี้ในรัฐกรณาฏกะ มหาราชฏระ และคุชราต อีกด้วย ซึ่งเกษตรกรที่ได้เริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว พบว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยราคาขายปลีกเงาะอยู่ที่ประมาณ 55 – 65 บาท/กิโลกรัม ราคามังคุด 130 – 170 บาท/กิโลกรัม และแก้วมังกร 105 – 130 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ ราคาอาจจะลดลงเมื่อมีคนปลูกมากขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรยังพบว่าในการปลูกมีโรคและแมลงรบกวนน้อย มีต้นทุนไม่สูง และตลาดยังมีการตอบรับที่ดีเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหาร เช่น แก้วมังกรมีน้ำตาลน้อยและมีแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็กและฟอสฟอรัส และดีต่อระบบขับถ่าย
ในปัจจุบันรัฐทางฝั่งตะวันออก เช่น Odisha และรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น Assam และ Mizoram ก็ได้เริ่มมีการเพาะปลูกแล้ว คาดการณ์ว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้า ปริมาณผลไม้ที่ปลูกในอินเดียจะเพียงพอต่อความต้องการภายในท้องถิ่น
ความคิดเห็น
ผลไม้สด จากไทยยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดและยังสามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะในตลาดกลุ่มผู้ที่มีกำลังซื้อ และกลุ่มธุรกิจ HoReCa อย่างไรก็ตามในระยะยาว ผู้ส่งออกควนเตรียมการปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันผลไม้ที่ปลูกภายในประเทศ ทั้งนี้ ผลไม้นำเข้าจากไทยมีราคาสูงกว่าผลไม้ท้องถิ่นประมาณ 50% เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องขนส่งทางเครื่องบินและความต้องการในตลาดยังมีจำกัดทำให้การขนส่งทางเรืออาจยังไม่คุ้มค่า จึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคในประเทศอินเดียให้ทราบถึงคุณประโยชน์ของผลไม้ไทยในวงกว้างก่อน เช่น การประกวดเมนูผลไม้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน การจัดทำคลิปวิดีโอแนะนำการรับประทาน รวมทั้งการสร้างกระแสความนิยมผ่านผู้มีชื่อเสียง และจัดกิจกรรมแจกชิมและลดราคาในช่วงเทศกาลต่างๆ เพื่อขยายความต้องการให้เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้ผู้ส่งออกสามารถลดต้นทุนค่าขนส่งได้
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมุมไบ ประเทศอินเดีย
download PDF ย้อนกลับ