กรกฎาคม 2563
กระทรวงพาณิชย์จีนกำหนดให้มีมาตรการการบันทึกข้อมูลการนำเข้าน้ำตาลนอกโควตา เพื่อให้สามารถบริหารจัดการนำเข้าน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรับรู้สถานการณ์การนำเข้าน้ำตาลของจีนได้รวดเร็ว ปรับจังหวะการนำเข้าตามความเหมาะสม ลดความเสี่ยงการดำเนินการผลิตและความผันผวนของตลาดน้ำตาล เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการน้ำตาลในภาพรวมของประเทศจีน โดยตามการประกาศเลขที่ 23 ปี 2020 กระทรวงพาณิชย์จีน ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2563 เรื่องเกี่ยวกับการปรับแคตตาล็อกสินค้าเกษตรประเภทเทกอง(bulk agricultural products bulk agricultural products) ที่ดำเนินการจัดการนำเข้าด้วยการลงบันทึก มีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าน้ำตาล ดังนี้
HS Code |
ชื่อผลิตภัณฑ์ |
หน่วย |
1701120090 |
Raw beet sugar, without added flavouring or coloring matter |
กิโลกรัม |
1701130090 |
Raw cane sugar, without added flavouring or coloring matter, a polarimeter reading of 69 or more but less than 93 |
กิโลกรัม |
1701140090 |
Other raw cane sugar, without added flavouring or colouring matter |
กิโลกรัม |
1701910090 |
Sugar (referring to cane or beet sugar and chemically pure sucrose), containing added flavouring, colouring matter |
กิโลกรัม |
1701991090 |
Granulated sugar |
กิโลกรัม |
1701992090 |
Superfine sugar |
กิโลกรัม |
1701999090 |
Other refined sugar |
กิโลกรัม |
ความคิดเห็น
ข้อมูลจากกรมศุลกากรแห่งชาติจัน รพบุว่า เดือนมกราคม – พฤษภาคม25563 จีนมีการนำเข้าน้ำตาลทุประเภทพ (HS Code 17 Sugar and Sugar confectionery) จากประเทศไทยมาเป็นอันดับ 2 ที่ปริมาณ 260.0 พันตัน (เพิ่มขึ้น 53.89% YOY) รองจากคิวบา (308.5 พันตัน ลดลง 7.63%YOY)
ดังนั้น การที่ปริมาณน้ำตาลของไทยมีส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับ 2 ของน้ำตาลนำเข้าทั้งหมดในจีน ผู้ส่งออกน้ำตาลไทยจะต้องติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับน้ำตาลในตลาดจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกรณีจีนมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับการนำเข้าน้ำตาล
แหล่งที่มา: www.mofcom.gov.cn, www.chinasugar.org.cn, www.yntw.com
แปลและเรียบเรียง: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างปรเทศ ณ เมือง เซี่ยเหมิน 9 กรกฎาคม 2563
ฝ่ายวิจัยและข้อมูล สถาบันอาหาร
download PDF ย้อนกลับ