สวัสดี

Technology & Innovation

Fast-Food ในญี่ปุ่นสวนกระแสยอดขายเติบโตในช่วงโควิด

สิงหาคม 2563

รายละเอียด :

Kentucky Fried Chicken Japan Ltd. (KFC) ในเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัท KFC มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างความประหลาดใจให้กับอุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) 

สาระสำคัญของข่าว

          Kentucky Fried Chicken Japan Ltd. (KFC) ในเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัท KFC  มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างความประหลาดใจให้กับอุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและเกิดการหดตัวของภาคธุรกิจในประเทศ ธุรกิจบริการอาหารอย่างเชนร้านอาหาร ร้านอาหาร Izakaya (ผับสไตล์ญี่ปุ่น) ต่างได้รับผลกระทบมียอดขายลดลงเนื่องจากประชาชนหันมาเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ “Social Distancing” มากขึ้น และออกจากบ้านน้อยลง อย่างไรก็ดี ธุรกิจร้านอาหารจานด่วน (Fast-Food) กลับมียอดขายเพิ่มขึ้น สวนกระแสธุรกิจร้านอาหารที่ทยอยปิดตัวลงจากผลประกอบการที่ขาดทุน ซึ่งอาจเป็นผลจากโมเดลธุรกิจของ KFC ที่เริ่มนําระบบ drive-through เข้ามาให้บริการลูกค้าตั้งแต่แรก ทําให้ลูกค้าสามารถสั่งและรับอาหารได้โดยไม่ต้องเดินออกจากรถ ปัจจุบัน KFC มีสัดส่วนฐานลูกค้าที่ซื้อกลับบ้าน ร้อยละ 70-80 และในขณะเดียวกัน บริษัทก็มุ่งมั่นในการควบคุมมาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบโดยหันมาใช้ไก่ที่เลี้ยงในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถลดระยะเวลาขนส่งจากฟาร์มถึงร้านแต่ละสาขาให้เหลือเพียง 2-3 วัน เมื่อเทียบกับการนําเข้าจากประเทศในกลุ่ม Southeast Asian หรือ South American ซึ่งปกติใช้เวลาขนส่งระหว่าง 2-3 สัปดาห์ หรือบางครั้งอาจมากกว่า 1 เดือน

          McDonald’s Company (Japan) Ltd. ในเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ผ่านมา McDonald’s ทยอยปิดสาขาที่ขาดทุนและเปลี่ยนแนวทางทําธุรกิจโดยมุ่งเน้นการลงทุนสร้างกระบวนการทํางานที่นําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยมากขึ้น (Digitalization) เช่น บริการ Mobile Order ซึ่งให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารโดยชําระเงินผ่านมือถือ และสามารถรับอาหารได้โดยไม่ต้องต่อคิวรอ โดยกว่าร้อยละ 90 ของสาขาทั่วญี่ปุ่นรองรับการให้บริการระบบดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ บริษัทเปิดตัวบริการใหม่ที่เรียกว่า “Park&GO” ในเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งให้ลูกค้าสามารถรับอาหารที่สั่งผ่านมือถือที่จุดจอดรถได้ เมื่อพนักงานร้านได้รับข้อมูลหมายเลขจอดรถของลูกค้าก็จะนําอาหารมาส่งถึงที่จอดรถ และชาวญี่ปุ่นมีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการของบริษัท ประมาณ 70 ล้านครั้ง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งหมายความว่า ชาวญี่ปุ่นมากกว่าหนึ่งในสองคนดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

ความคิดเห็น

        ผู้บริโภคมักจะเลือกอาหารที่ค่อนข้างง่าย ผู้ประกอบการเครือข่ายอาหารจานด่วนสามารถคาดหวังได้ว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้น หากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นไปด้วยดี การขยายบริการที่เป็นประโยชน์และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ ตัวอย่างเช่น ผู้นำตลาดด้านธุรกิจบริการอาหารที่จัดการกับรสนิยมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก และรักษาระยะห่างในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)                

ที่มา :  1. DITP

2. The Japan News. Fast-food restaurants come out on top amid pandemic in Japan. https://the-japan-news.com/news/article/0006700140.

 

สามารถติดตามข่าวสารกับ FIC ทางสังคมออนไลน์ ได้ที่ (http://www.facebook.com/NFI.FIC)

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527