สวัสดี

Technology & Innovation

ผลกระทบต่อสินค้าภาคการเกษตรภายใต้วิกฤตไวรัส Covid-19

พฤษภาคม 2563

รายละเอียด :

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ในหลายประเทศเกิดมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องประชากรของประเทศของตน แต่อย่างไรก็ตามมาตรการต่างๆ เหล่านั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมสินค้าภาคการเกษตรและอื่นๆ ในหลายประเทศที่ยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ในหลายประเทศเกิดมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องประชากรของประเทศของตน แต่อย่างไรก็ตามมาตรการต่างๆ เหล่านั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมสินค้าภาคการเกษตรและอื่นๆ ในหลายประเทศที่ยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว

ปัจจุบันแม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีนจะเริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจยังคงเป็นแผลลึกอยู่ในหมู่ประชาชน ผู้คนมากมายมีรายได้ที่ลดลงและอีกมากที่ต้องออกจากงาน ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดจีนลดลงอย่างมาก และประชากรส่วนใหญ่ต้องลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หรือจำเป็นน้อยกว่าส่วนอื่น ๆ รวมไปถึงการซื้อหาผลไม้นำเข้า

          ตลาดเจียงหนานแห่งนครกวางโจวคือตลาดค้าส่งผักผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ที่ช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมามียอดการนำเข้าผลไม้มากขึ้นถึงสิบเท่าตามการเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่เมื่อวิกฤตการณ์โควิด-19 ผ่านเข้ามาก็สร้างความพลิกผัน ผลไม้ต่าง ๆ ไม่ว่าชนิดใดจากแหล่งไหนล้วนประสบปัญหายอดขายและราคาตกต่ำทั้งสิ้น ผู้ค้าบางเจ้าขายสินค้าออกได้เพียง 1 ใน 4 ถึง 1 ใน 5 ของที่เคยขายได้ และในราคาที่ลดลงครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้รายงานข่าวจากอีกด้านหนึ่งก็พบว่าการส่งออกผักผลไม้ของอินเดียเองก็ลดลงถึง 70% โดยเกิดจากปัจจัยทั้งจากการล็อคดาวน์และการเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุนค่าขนส่ง

          สำหรับประเทศญี่ปุ่น กล้วย และมะม่วง รวมถึงผลไม้อื่นๆ เช่นอะโวคาโด ที่นำเข้ามีปริมาณลดลง เนื่องจากแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกมีมาตรการปิดประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด หลายสายการบินจึงลดหรือระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทำให้ปริมาณผลไม้นำเข้าที่ขนส่งทางอากาศลดลงตาม ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ค้าปลีกบางรายขึ้นราคาสินค้า

          ข้อมูลจากสมาคมผู้นำเข้ากล้วยของญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว (Japan Banana Importers Association) พบว่ากล้วยจากฟิลิปปินส์ซึ่งคิดเป็น 80 % ของปริมาณกล้วยทั้งหมดที่นำเข้า ได้ลดปริมาณส่งออกลงถึง 10 % ในช่วงปลายเดือนเมษายน เนื่องจากมาตรการปิดเมืองและประเทศของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ซึ่งจำกัดการเคลื่อนย้ายของประชาชนทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวและบรรจุกล้วยเพื่อส่งขาย และอาจทำให้ในอนาคตกล้วยจากประเทศเอกวาดอร์, เปรู และคอสตาริกาสามารถแทนที่กล้วยจากฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ผู้นำเข้าผลไม้ต้องดิ้นรนอย่างมากเนื่องจากผลไม้ที่ได้มาไม่เพียงพอต่อคำสั่งสินค้า อีกทั้งค่าขนส่งทางอากาศที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการสั่งซื้อสูงขึ้นถึง 20 %

          ด้านประเทศไทย สถานะการณ์โควิด-19 ทำให้สินค้าภาคการเกษตรของประเทศไทยได้รับผลกระทบทั้งในด้านดีและไม่ดี อาทิเช่น

 

          จากสถานะการณ์ที่กล่าวมาในข้างต้นส่งผลให้ค่าดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลง ร้อยละ 13.18 ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.49 ส่งผลทำให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลง ร้อยละ 10.15 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2562

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าถึงแม้ราคาของสินค้าจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่รายได้ของเกษตรกรก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้อาจจะเป็นผลมาจากราคาของต้นทุนสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อทำการคำนวณต้นทุนจึงทำให้รายได้ไม่ได้แปรผันตรงกับราคาสินค้า อย่างไรก็ตามวิกฤตการณ์ดังกล่าวอาจจะดำเนินไปถึงปลายปี 2563 เกษตรกรจึงต้องปรับตัว และควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างรัดกุม

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527