สวัสดี

Technology & Innovation

เวียดนามเดินหน้าโปรเจ็คกาแฟยั่งยืน สร้างรายได้ประเทศ

มีนาคม 2562

รายละเอียด :

ประธานบริหารโครงการปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืนของเวียดนาม (VnSAT: The Vietnam Sustainable Agriculture Transformation project) เผยแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟ และการสร้างความตระหนักต่อความสำคัญของการผลิตกาแฟแบบยั่งยืนให้แก่เกษตรกร โดยมุ่งเน้นการฝึกอบรมเทคนิคในการผลิตแก่เกษตรกร รวมทั้งการสร้างต้นแบบการเพาะปลูกและการผลิตแบบยั่งยืน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรด้วย

ประธานบริหารโครงการปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืนของเวียดนาม (VnSAT: The Vietnam Sustainable Agriculture Transformation project) เผยแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟ และการสร้างความตระหนักต่อความสำคัญของการผลิตกาแฟแบบยั่งยืนให้แก่เกษตรกร โดยมุ่งเน้นการฝึกอบรมเทคนิคในการผลิตแก่เกษตรกร รวมทั้งการสร้างต้นแบบการเพาะปลูกและการผลิตแบบยั่งยืน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรด้วย

          ทั้งนี้ พื้นที่ราบสูงของจังหวัด Lam Dong ถือเป็นพื้นที่แรกที่การถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้โครงการพัฒนาการผลิตกาแฟแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของเวียดนามได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเกษตรกรจำนวน 10,000 รายสามารถพัฒนากระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ

          ปัจจุบัน VnSAT ได้จัดหาทุนกว่า 33 พันล้านดงเวียดนาม หรือกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนนในพื้นที่ชนบท และคลังสินค้าในเขตต่างๆ โดยคณะกรรมการบริหาร VnSAT ยืนยันจะพลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยการผลิต และระบบการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในอีกหลายพื้นที่ ซึ่งเฉพาะในการเพาะปลูกกาแฟแบบยั่งยืนในที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนามนั้น ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางถึง 22,000 เฮกตาร์ มากกว่าการคาดการณ์ของ VnSAT และสามารถสร้างผลกำไรเติบโตขึ้นสูงถึง 4.5%

 

          อนึ่ง VnSAT เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 ในพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัดเขตพื้นที่ปากแม่น้ำโขงและ 5 จังหวัดในที่ราบสูงทางตอนกลางของเวียดนาม โดยคาดว่าจะเพิ่มปริมาณสินค้าเกษตรและมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย VnSAT ได้จัดหาเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยให้แก่เกษตรกร 63,000 ราย บนพื้นที่ 69,000 เฮกตาร์ และคาดว่าจะทำให้เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นประมาณ 48 - 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2558 - 2563

          ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) หรือ ระบบเกษตรกรรมทางเลือก (Alternative Agriculture) หรือ ระบบเกษตรกรรมถาวร (Permanent Agriculture หรือ Permacutlure) จะให้ความสำคัญกับสมดุลของระบบนิเวศ ผลผลิต คุณภาพที่ดี และเพียงพอต่อเกษตรกรและผู้บริโภค การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งการให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่น หลักการสำคัญที่สุดที่มีร่วมกันของเกษตรกรรมทางเลือก-เกษตรกรรมยั่งยืน คือ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการผลิตอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่าผลิตเพื่อการส่งออก (เกษตรกรจึงไม่ต้องวิ่งไปตามกระแสของตลาด) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมีความสมดุล อาหารที่ผลิตได้เป็นอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ทำให้ระบบเกษตรกรรมเหล่านี้ดำเนินต่อเนื่องไปได้นานที่สุด โดยไม่มีผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศวิทยา และไม่เกิดปัญหาทั้งด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ดังนั้นการปรับนำระบบเกษตรดังกล่าวมาใช้ในประเทศถือเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความมั่นคงตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำ จนถึงเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศต่อไปในอนาคต

 

ความคิดเห็น  

          สำหรับในประเทศไทย ขบวนการเกษตรกรรมทางเลือก-เกษตรกรรมยั่งยืนได้เกิดขึ้นมาเกือบ 3 ทศวรรษ โดยเริ่มต้นจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนครั้งแรกเมื่อปลายทศวรรษ 2520 มีผู้เกี่ยวข้องทั้งนักพัฒนาจากองค์กรภาคเอกชน นักวิชาการ นักวางแผน และข้าราชการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ได้ให้คำจำกัดความและความหมายของแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนไว้มากมาย ซึ่งคณะทำงานวิชาการ สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 1 ปี 2535 ได้นำมาประมวลเป็นนิยามของเกษตรกรรมยั่งยืนไว้ว่า เป็นวิถีเกษตรกรรมที่ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและพอเพียงตามความจำเป็นพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรและผู้บริโภค พึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้เพื่อความผาสุกและความอยู่รอดของมวลมนุษย์ชาติโดยรวม

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527