ตุลาคม 2561
ผู้ผลิต และผู้ขายมะพร้าวในสาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา (Co-operative Republic of Guyana) และประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community : Caricom) เตรียมรับมือกับการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารของน้ำมะพร้าว (Coconut water) ฉบับใหม่
สาระสำคัญของข่าว
ผู้ผลิต และผู้ขายมะพร้าวในสาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา (Co-operative Republic of Guyana) และประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community : Caricom) เตรียมรับมือกับการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารของน้ำมะพร้าว (Coconut water) ฉบับใหม่ หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์พบการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวที่ผลิตในภูมิภาค แม้จะยังไม่พบว่ามีผู้บริโภคได้รับผลกระทบร้ายแรงจากการบริโภคน้ำมะพร้าวก็ตาม ซึ่งนาย Barton Clarke ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการวิจัยเกษตรแห่งแคริบเบียน (The Caribbean Agricultural Research Development Institute : CARDI) กล่าวว่า “พบปริมาณแบคทีเรียอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับไม่ได้” วางจำหน่ายตามท้องตลาด ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมแคริเบียน (The Caribbean Industrial Research Institute : CARIRI) และ สำนักงานเกษตรและสาธารณสุขแคริบเบียน (The Caribbean Agricultural and Public Health Agency : CARPHA) ที่ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำมะพร้าวจากหลายประเทศตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านข้างถนน จากนั้นนำมาวิเคราะห์ซึ่งผลที่ได้ไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจนัก เนื่องจากพบว่ามะพร้าวตามท้องตลาดในกายอานา (Guyana) จะจัดเก็บโดยการวางไว้กับพื้น และในบางครั้งน้ำมะพร้าวที่วางขายก็บรรจุในขวดพลาสติกรีไซเคิลที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว และนำมากรอกซ้ำเพื่อวางจำหน่ายอีกครั้ง ทั้งนี้ทางองค์การมาตรฐานและคุณภาพระดับภูมิภาคแคริบเบียน (The Caribbean Regional Organisation of Standards and Quality : CROSQ) จึงได้ทำการปรับปรุงมาตรฐานสำหรับน้ำมะพร้าวในภูมิภาค โดยมาตรฐานดังกล่าวมีการกำหนดทั้งระดับโลหะหนัก (heavy metal) และโคลิฟอร์ม (Coliform) รวมถึงวิธีล้าง และวิธีการจัดเก็บมะพร้าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคสำหรับการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้
ความคิดเห็น
ประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community หรือ Caricom) ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 15 ประเทศ และหมู่เกาะต่าง ๆ ที่อยู่ในแถบทะเลแคริบเบียน มีการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีและลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน การทำการค้า และการส่งออกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ ผลิตภัณฑ์ต้องมีมาตรฐานและผู้บริโภคยอมรับ หากผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลเสียทั้งผู้ผลิตและตลาดส่งออกของประเทศได้
ที่มา : Demerarawaves. New food safety standards for coconut water, after bacteria found. http://demerarawaves.com/2018/10/10/new-food-safety-standards-for-coconut-water-after-bacteria-found/.
สามารถติดตามข่าวสารกับ FIC ทางสังคมออนไลน์ ได้ที่ (http://www.facebook.com/NFI.FIC)
download PDF ย้อนกลับ